ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความรวมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ จุลปานนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป, ภูมิภาคนิยมระหว่างภูมิภาค, ความตกลงทวิภาคี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ความเป็นมาของข้อตกลงดังกล่าวโดยใช้แนวคิดภูมิภาคนิยมระหว่างภูมิภาคและความตกลงทวิภาคีเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป หรือพีซีเอเป็นความร่วมมือทวิภาคีที่ส่งเสริมการเจรจาทางการเมืองที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญของโลก และยังขยายขอบเขตความร่วมมืออย่างกว้างขวางในทุกมิติของนโยบาย เช่น สิ่งแวดล้อม การพลังงาน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การขนส่ง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การค้า การว่างงาน และการสังคม สิทธิมนุษยชน การศึกษา การเกษตร การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านคอร์รัปชั่น อาชญากรรมข้ามชาติ การอพยพ และวัฒนธรรม ความเป็นกลางของความตกลงดังกล่าวเริ่มต้นจากความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคอาเซียน-สหภาพยุโรป ตั้งแต่ ค.ศ.1978  และทั้งสองฝ่ายได้เริ่มกระบวนการเจรจาความตกลงพีซีเอ เมื่อ ค.ศ.2004 และบรรลุผลใน ค.ศ.2022 ความตกลงพีซีเอจะช่วยกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรปให้ก้าวหน้าดีขึ้นในอนาคตอันใกล้

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2566). เกร็ดที่มาของกรอบความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.blockdit.com.

รัฐบาลไทย. (2565). นายกฯ ร่วมพิธีลงนามร่างกรอบความตกลง PCA EU-Thai. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62666.

Bomassi, L. (2022). A Missed Opportunity on the EU-ASEAN Summit. Retrieved December 15, 2022, from www.http://carnegieeurope.eu

CFI Team. (2022). Bilateral Agreement. Retrieved December 30, 2022, from http://www.financeinstitute.com

EU-ASEAN Business Council. (2022). 10th ASEAN-EU Business Summit Deepening ASEAN-EU trade: Sustainable Development for all. Retrieved December 16, 2022, from www.http://www.eu-asean.eu

Gilson, J. (2005). New Interregionalism? The EU and East Asia” J Eur Integr, 27(3), 307-26.

Gilson J. (2010). Eu-Japan Relations and the Crisis Multilateralism. London: Macmillan.

Grow Your Business. (2022). Thailand and the EU Finalize Partnership and Cooperation Agreement. Retrieved January 18, 2023, from http://www.growyourbusiness.org.

Hu, R. W. (2009). Building Asia Pacific Archi lecture: the Challenge of Hybrid Regionalism. Retrieved August 15, 2022, from www.brooking.edu/v/media/research/files/papars /2009/ 7/asia-pacific-hu/07-asia-pacific-hu-paf

McAllister, D. (2022). ASEAB and the EU: Beyond the Summit, a Call for Action. Retrieved December 16, 2022, from www.http://thediplomat.com

Schroeder, H. (1993). “ASEAN and the European Community” in Journal of European Studies,1( Special Issue).

เผยแพร่แล้ว

16-08-2023

How to Cite

จุลปานนท์ ว. . . (2023). ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนและความรวมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 31–43. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1826