นโยบายและมาตรการการรับมือของรัฐไทยกับปัญหาอาหารปลอมในตลาดโลก พ.ศ. 2546-2565

ผู้แต่ง

  • พงษ์พันธ์ โสมาภา นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการเมือง) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัญหาอาหารปลอม, การรับมือของรัฐในประเทศต่างๆ, นโยบายและมาตรการของรัฐไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งบทบาทและข้อปัญหาที่พบในหน่วยงานของไทยในการรับมือกับ สถาณการณ์อาหารปลอมนานาชนิด ที่ยังมีการแฝงตัวและแทรกซึมอย่างแพร่หลายในตลาดโลก ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยในงานวิจัยนี้จะใช้วิธีการสืบค้นและสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารจากการแถลงผลงานของหน่วยงานรัฐในการจับกุมปราบปรามอาหารปลอม และสืบค้นข้อมูลข่าวสารออนไลน์เรื่องอาหารปลอมจากสื่อต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมทั้งหาข้อมูลปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์ โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ ของไทยที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหาร ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรในระดับการออกนโยบายขององค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขของไทย (อย.) จำนวน 1 คน, เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จำนวน 1 คน, นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางกรณีปัญหาด้านอาหารปลอมของสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จำนวน 1 คน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของหน่วยงานรัฐในต่างประเทศและของไทยนั้น มีการรับมือกับปรากฏการณ์ของสถานการณ์อาหารปลอมที่คล้ายกัน คือ ทุกประเทศต่างมีมาตรการในการป้องกัน ปราบปราม และเฝ้าระวังสินค้าประเภทอาหารปลอมอย่างเต็มที่เหมือนกัน และปัญหาของหน่วยงานรัฐของไทยที่พบ คือ การขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เช่น จำนวนของบุคลากรชำนาญการที่ไม่เพียงพอ, งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้กับหน่วยงานนั้นมีอย่างจำกัด และจำนวนเครื่องมือการตรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่เพียงพอ

References

กองอาหาร. (2568). กฎหมายอาหาร (พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุขและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง). ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2568, จาก https://food.fda.moph.go.th/food-law/sum-law/

จักรี ไชยพินิจ. (2558). แนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันของเบเวอรี่ ครอเฟิร์ด: บทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 3(1), 1-27.

ณัฐฐิพร อนันตศิริ. (2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัยในท้องตลาด. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐ์ระพี วงศ์ชนเดช. (2562). ปัญหาทางกฎหมายด้านการควบคุมระบบคุณภาพความปลอดภัยทางอาหาร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2567). อย. เผาของกลางผลิตภัณฑ์สุขภาพ 96 คดี 3.4 หมื่น กก. รวม 200 ล.บาท. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2567, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9670000026295

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4. (2522). ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565, จาก https://laws.fda.moph.go.th /laws/food-act-be-2522

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

Elizabeth Montes Saavedra. (2014). From ‘food to fraud’: The continuous battle against dishonest practices in the food chain. A comparative analysis between the European and the American food fraud control systems. Master Thesis, Wageningen University, Netherlands. Retrieved 27 March, 2023, from https://edepot.wur.nl/304294

Gilman, N., Goldhammer, J., and Weber, S. (2011). Deviant globalization: Black market economy in the 21st century. New York: The Continuum International Publishing Group.

Manning, L. & Soon, J. M, (2016). Food safety, food fraud and food defense: A fast evolving literature. Journal of Food Science, 81(4), R823-34. doi: 10.1111/1750-3841.13256.

Midler, P. (2011). Poorly made in China. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Political Science. (2019). Theory of state functions. Retrieved July 10, 2024, from https://www.politicalscienceview.com/theories-of-state-functions/

Red Point. (2022). Inside China’s toxic counterfeit food industry. Retrieved July 4, 2022, from https://www.redpoints.com/blog/inside-chinas-toxic-counterfeit-food-industry/

Rhodes, R. A. W. (2007). Peripheral Vision (of organizational studies): Understanding Governance: Ten Years On, Retrieved July 4, 2022, from https://www.researchgate .net/publication/233870082_ Understanding_Governance_Policy_Networks_ Governance_Reflexivity_ and_Accountability

Roberts, H. R. (1981). Food safety. Hoboken, NJ: John Willey & Sons.

Skocpol, T. (1982). Bringing the state back in: A report on current comparative research on the relationship between states and social structures. Retrieved July 4, 2022, from https://items.ssrc.org/from-our-archives/bringing-the-state-back-in-a-report-on-current-comparative-research-on-the-relationship-between-states-and-social-structures/

Thai Embassy. (2565). การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). Retrieved June 25, 2023, from

https://helsinki.thaiembassy.org/th/page/65202%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C-swot-(swot-analysis)?menu= 5f28fef3d3a8ab75420 d47d3

USFDA. (2007). Melamine Pet Food Recall of 2007. Retrieved April 2, 2024, from https://web.archive.org/web/20090612173809/http://www.fda.gov/AnimalVeterinary/SafetyHealth/RecallsWithdrawals/ucm129575.htm

WHO, Food Safety. (2024). International food safety authorities network. Retrieved March 25, 2024, from https://www.who.int/groups/fao-who-international-food-safety-authorities-network-infosan/about

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

โสมาภา พ. (2025). นโยบายและมาตรการการรับมือของรัฐไทยกับปัญหาอาหารปลอมในตลาดโลก พ.ศ. 2546-2565. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 619–653. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1806