แนวทางการป้องกันการหลอกลวงทางโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์

กรณีศึกษา สถานีตำรวจภูธรหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • พันธิ์ศักดิ์ พึ่งงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี
  • นิพัฒน์ แท่งทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี
  • อรวรรณ แท่งทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี

คำสำคัญ:

แก๊งคอลเซ็นเตอร์, เครือข่ายแจ้งเตือนภัยชุมชน, การสร้างการตระหนักรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการหลอกลวงทางโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2565–2567 2) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และ 3) พัฒนาแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ การวิจัยใช้วิธีผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยผู้เสียหายที่เคยตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ครูหรือบุคลากรจากโรงเรียนในชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวม 20 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอายุ 31–50 ปี มีความเสี่ยงสูง โดย 87% เคยได้รับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และ 12% เคยตกเป็นเหยื่อ รูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อย ได้แก่ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือธนาคาร ข่มขู่ว่ามีคดี หรืออ้างว่ามีรางวัลเพื่อให้โอนเงินหรือเปิดเผยข้อมูล ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ ขาดความรู้เท่าทัน ความกลัว แรงกดดันทางจิตใจ การเชื่อในอำนาจรัฐ และการได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ

แนวทางป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การจัดอบรมในชุมชน สร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย พัฒนาระบบเทคโนโลยี เช่น ฐานข้อมูลเบอร์ต้องสงสัย และการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อท้องถิ่น พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อรับมือปัญหาอย่างยั่งยืน

References

ทศพล ทรรศนพรรณ. (12 พฤศจิกายน 2566). วิกฤต 'มิจฉาชีพออนไลน์' รัฐไทยทำอะไรได้ไหม?. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2568, จากhttps://www.the101.world/tossapon-tassanapan-interview/

ประณีต ส่งวัฒนา. (2559). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนเมืองในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยกลุ่มเปราะบาง: กรณีศึกษาหาดใหญ่. วารสารสภาการพยาบาล, 31(1). 56-69.

ผู้จัดการออนไลน์. (24 มีนาคม 2567). “ดีอี” ระดมกำลังสกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จากhttps://mgronline.com/cyberbiz/detail/9670000025951

ศิริวัฒน์ โมรา. (2566). รายงานสถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทย ประจำปี 2565. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สุดารัตน์ บุญญานุกูลกิจ และ วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2565). การพัฒนากิจกรรมฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการสอนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดราชบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(2). 350-372.

Association of Police and Crime Commissioners. (2025). Integrated Community Response to Cybercrime: A UK Model. APCC Research Reports, 12(1), 45-62.

Bangkok Bank InnoHub. (15 สิงหาคม 2565). อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime) ภัยคุกคามตัวร้ายในโลกยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2568, จาก https://www.bangkokbankinnohub.com/th/what-is-cyber-crime/

call center Thailand. (11 มีนาคม 2562). Contact center คืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2568, จากhttps://www.callcenterthailand.net/home/call-center/-call-center/315-episode-2-call-center-is.html

Fan, X., & Yu, L. (2022). Risk factors for fraud victimization: The role of socio-demographics, personality traits, and prior fraud knowledge. Journal of Criminology, 58(3), 215-239.

Lin, Y., Chen, X., & Wang, Z. (2021). Call Center Gang Crime: Case Study of Phone Scams in Thailand. AIRO International Research Journal, 15(2), 216–221.

PostToday. (16 กุมภาพันธ์ 2565). เปิด 14 รูปแบบกลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์-SMSหลอกลวง. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2568, จากhttps://www.nsm.or.th/nsm/th/node/9776

Smith, J., Brown, H. D., & Lee, H. (2022). Technology-Based Prevention of Cybercrime: A Multi-Sectoral Approach. Journal of Cybersecurity and Digital Trust, 8(3), 101–120.

TNN Thailand. (2567, กุมภาพันธ์ 22). คนไทยตกเป็นเหยื่อ “คอลเซ็นเตอร์” เสียหายรวมกว่าแปดหมื่นล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2568, จากhttps://www.facebook.com/TNNthailand/photos/1039011961591245

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

พึ่งงาม พ., แท่งทอง น. ., & แท่งทอง อ. . . (2025). แนวทางการป้องกันการหลอกลวงทางโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ : กรณีศึกษา สถานีตำรวจภูธรหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 267–298. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1778