แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ผัดผ่อง นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • คุณากร กรสิงห์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนา; เมืองอัจฉริยะ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นเมืองอัจฉริยะและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดเมืองอัจฉริยะเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 103 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

  1. ผลการวิจัยพบว่าระดับความเป็นเมืองอัจฉริยะ อยู่ในระดับปานกลาง (= 2.51, S.D. = 0.83) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ( = 3.84, S.D. = 0.97) พบว่าทั้ง 5 ปัจจัยมีค่าน้ำหลักองค์ประกอบอยู่ในระหว่าง 0.67 - 0.88 ความแปรปรวนที่อธิบายได้ร้อยละ 45 – 77 ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
  2. ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ มีดังนี้ 1) ด้านความต้องการและการเรียกร้องจากประชาชน มีความไม่เข้าใจและความคาดหวังที่ไม่ตรงกัน และขาดการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานเดิม ความล่าช้าด้านงบประมาณและระเบียบข้อปฏิบัติ และความแตกต่างของพื้นที่ระหว่างเขตเมืองและชนบท 3) ด้านการจัดการข้อมูลและเทคโนโลยี บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ ระบบปฏิบัติการออนไลน์ยุ่งยาก และทัศนคติเชิงลบของบุคลากรต่อเทคโนโลยี 4) ด้านนโยบายและการบริหารจัดการข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ การขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และ5) ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การประสานงานระหว่างหน่วยงานล่าช้า และการขาดความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและประชาชน
  3. แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ มีดังนี้ 1) ความต้องการของประชาชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การจัดอบรมและเวทีรับฟังความคิดเห็นส่งเสริมการทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงโครงการ ออกแบบพื้นที่รองรับผู้สูงอายุ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) โครงสร้างพื้นฐาน มุ่งเน้นการร่วมลงทุนกับเอกชน พัฒนาการศึกษาออนไลน์ และการเกษตรอัจฉริยะ 3) การจัดการข้อมูลและเทคโนโลยี สนับสนุนการอบรมบุคลากรใช้เทคโนโลยี มีระบบพี่เลี้ยง ทดสอบระบบกับผู้ใช้จริง และส่งเสริมการใช้ Open Source 4) นโยบายและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้รองรับเทคโนโลยี สนับสนุนการออกระเบียบเฉพาะพื้นที่ จัดทำนโยบายเมืองอัจฉริยะระยะยาว 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สร้างกรอบความร่วมมือ จัดประชุมหลายฝ่าย พัฒนาแพลตฟอร์มแจ้งปัญหาเมือง สนับสนุนโครงการชุมชนขนาดเล็ก เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล และเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม

References

จารุวรรณ ประวันเน. (2563). “กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง อัจฉริยะ : กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น.” วารสารการบริหารท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(3), 267-282.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). “เมืองอัจฉริยะ : ความหมายและข้อควรพิจารณาสำหรับการพัฒนาเมือง.” วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 7(1), 3-18.

พิมพ์ลดา ธีระมนต์ประณีต. (2566). “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่เมืองอัจฉริยะเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตการบริการของเทศบาลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.” วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3(1), 163-180.

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ และคณะ. (2564). “ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต.” วารสารปัญญาภิวัฒน์. 14(1), 188-200.

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2562). กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มุกุนด์ ชรีดาร์. (2561). Smart City ไทยอยู่จุดไหน แล้วอะไรคือปัจจัยความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/smart-city-thailand

ศิริวัฒน์ เจนรังสรรค์, และ วิมลสิริ แสงกรด. (2562). “การพัฒนาเทศบาลเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น.” Journal of Buddhist Education and Research. 5(2), 361-374.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย และสุริยานนท์ พลสิม. (2564). การพัฒนาเมืองอจัฉริยะขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2563). โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) กับบทบาทของกระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก http://www.stabundamrong.go.th/web /research1/research7.pdf

สถาบันพระปกเกล้า. (2562). รายงานสถานการณ์ การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก https://www.kpi.ac.th/public/knowledge/book/data/1063

สมิตา เต็มเพิ่มพูน. (2563). “ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสาธารณรัฐประชาชนจีน: กรณีศึกษา นครเซี่ยงไฮ้.” วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3), 165-177.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลสาขาภาคเหนือตอนล่าง. (2567). depa จับมือเทศบาลนครนครสวรรค์ ขับเคลื่อน อปท. จ.นครสวรรค์ สู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก https://www.depa.or.th/en/article-view/20240409_01

สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. (2566). จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 1/2566. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก https://nksawan.nso.go.th/news/event-news/1-2566.html

สุธี อนันต์สุขสมศรี. (2563). เมืองอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก https://thaipublica.org/2020/03/smart-city/

สุภมาส อังศุโชติ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.

สุริยานนท์ พลสิม. (2561). นิยาม องค์ประกอบ ดัชนีชี้วัด และผลลัพธ์แห่งการเป็นเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566 จาก ttps://www.researchgate.net/publication/331008437_niyam_xngkhprakxb/tawchiwad_laeaphllaphthkhxngmeuxngxacchriya_Understanding_Smart_City

อัญลนันต์ โรจน์ธนวินต์. (2565). การบริหารจัดการเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) กรณีศึกษา: เทศบาลนครนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระระดับมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

เอกชัย สุมาลี และชัยวุฒิ ตันไชย (2562). “ บทบาทท้องถิ่นกับการบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City.” วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 8(1), 71–84.

Phatphicha Lerksirinukul. (2561). แนวทางการพัฒนาลอสแอนเจลิสสู่สมาร์ทซิตี้. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566 จาก https://www.salika.co/2018/12/30/la-city-model-nakornnont-40/

การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล

ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี. (2567). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. กรกฎาคม, 2.

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์. (2567). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. กรกฎาคม, 5.

เลขานุการนายกเทศมนตรี. (2567). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. กรกฎาคม, 3.

หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2567). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. กรกฎาคม, 1.

หัวหน้าฝ่ายสถิติข้อมูลและสารสนเทศ. (2567). สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. กรกฎาคม, 4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

ผัดผ่อง ส. . ., & กรสิงห์ ค. . . (2025). แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 338–370. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1669