นวัตกรรมด้านการจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ณกรณ์ ตรรกวิรพัท วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

คาร์บอนเครดิต, ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ, สวนยางพารา, การกักเก็บคาร์บอน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพาราของประเทศไทย โดยเน้นการพัฒนาตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ซึ่งเป็นกลไกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรผ่านการขายคาร์บอนเครดิต การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการวิจัย เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เกษตรกร และภาคเอกชน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านกรอบการวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix เพื่อประเมินศักยภาพในการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา 1. สวนยางพารามีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะต้นยางที่มีอายุมากกว่า 10 ปี นโยบายด้านคาร์บอนเครดิตในสวนยางพาราของประเทศไทย ในช่วงเริ่มต้นควรใช้มาตรการทางด้านเศรษฐกิจเพื่อสร้างแรงจูงใจเป็นหลัก 2. แนวทางการพัฒนารูปแบบธุรกิจมี 4 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแนวทางต้องคำนึงถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ และ 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มมีความคาดหวังและความต้องการที่แตกต่างกัน แต่ยังคงต้องการให้ กยท. เป็นตัวกลางในการดำเนินงานในการจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยาง

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนากลไกการจัดการคาร์บอนเครดิตที่มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ พร้อมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างยั่งยืน

References

จุฑาพร ทองนุ่น, พิชิต ลำไย, สันติ สุขสะอาด, และศุภศิษย์ ศรีอักขรินทร. (2565). พลวัตป่าไม้แลการกักเก็บคาร์บอนในช่วงเวลา 10 ปี ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดแพร่. วารสารวนศาสตร์ไทย, 41(2), 48-62.

สุภาวรรณ เพ็ชศรี และ อํานาจ ชิดไธสง. (2553). ศักยภาพการเก็บกักคาร์บอนในสวนยางพาราของประเทศไทย. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่องประเทศไทย กับภูมิอากาศโลก ครั้งที่ 1: ความเสี่ยงและโอกาสท้าทาย ในกลไกการจัดการสภาพภูมิอากาศโลก.

ประเสริฐ ภวสันต์, วรพจน์ กนกกันฑพงษ์, และ อาวีวรรณ มั่งมีชัย, (2558). การวิจัยเชิงนโยบายการจัดทำคาร์บอนเครดิต และประเมินความต้องการใช้น้ำ จากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่: รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2566). ราคาซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1086018

ANRPC. (2010). Natural Rubber Trends & Statistics. Association of Natural Rubber Producing Countries, 2(3), 1-27.

Carbon Dioxide Information Analysis Center (CDIAC). (2019). ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. Retrieved from https://themomentum.co/world-emissions/

Nature. (2021). Farmer Perspectives on Carbon Markets Incentivizing Agricultural Soil Carbon Sequestration. Retrieved from https://www.nature.com/articles/s41558-021-00945-2

Rhodium Group. (2023). Global Greenhouse Gas Emissions: 1990-2021 and Preliminary 2022 Estimates, retrieved from https://rhg.com/research/global-greenhouse-gas-emissions-2022/

Stavins, R. N. (2020). The future of US carbon-pricing policy. Environmental and Energy Policy and the Economy, 1(1), 8-64.

VERRA. (2023). VCS certification statistics “Projects certified for total greenhouse gas emissions”. Retrieved from https://registry.verra.org/app/search/VCS/Registered

World Bank. (2023). Price evolution in ETS from 2018-2023. Retrieved from https://openknowledge.worldbank.org/entities/publication/58f2a409-9bb7-4ee6-899d-be47835c838f

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

ตรรกวิรพัท ณ. . . (2025). นวัตกรรมด้านการจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 240–266. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1577