การพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, สภาพแวดล้อม, เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของกองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลัก ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศกองทัพเรือ ซึ่งการวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศกองทัพเรือ แบบผสานวิธี คือ งานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน และงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะหลักของของเจ้าหน้าที่
ควบคุมจราจรทางอากาศกองทัพเรือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ด้านความจงรักภักดี มาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านลักษณะท่าทางทหาร ด้านอุดมการณ์ชาติ ด้านความมีวินัย ด้านจิตวิญญาณนักรบชาวเรือ ด้านความมุ่งมั่นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2. สภาพแวดล้อมภายนอก การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาสมรรถนะ ส่วนสภาพแวดล้อมภายใน พบว่าเป็นปัญหาและอุปสรรค 1) กลยุทธ์ ขาดแผนการดำเนินการที่ชัดเจน 2) โครงสร้าง มีความเป็นทางการสูง การตัดสินใจล่าช้า ขาดความคล่องตัว 3) ระบบ ขาดความยืดหยุ่น ขาดการกระจายอำนาจและเน้นกฎระเบียบ 4) รูปแบบการนำ เน้นการปฏิบัติตามคำสั่ง ขาดการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) บุคลากร ขาดแคลนบุคลากร 6) ทักษะ ขาดแผนการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและขาดความต่อเนื่อง 7) ค่านิยมร่วม ยึดถือระบบอาวุโสเป็นมากเกินไป 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค หน่วยงานต้องมีการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน กำหนดขั้นตอน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ให้ชัดเจน การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ การประเมินติดตามผลงาน การปรับปรุง กระบวนการทำงาน การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เน้นการมีส่วนร่วม และการสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงาน
References
กรรณิการ์ สิทธิชัย และสันติธร ภูริภักดี. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด7S ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. วารสารสาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1419-1435.
กองทัพเรือ. (2563). เรื่องขออนุมัติปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติงานกำลังพลของกองทัพเรือ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
จักรี ขอเจริญ. (2562). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอ จังหวัดตราดหวัดตราด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เจริญ ภูสุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานในเทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2567). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ฐานิศร์ มณีนารถ. (2564). สมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงานประจำจังหวัดอ่างทอง. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัฐวุฒิ วุฒิ. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขภายใต้
บริบทประเทศไทย 4.0., การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทัศวรรณ์ แหยมดอนไพร และจำเนียร ราชแพทยาคม. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารครุพิบูล, 5(1), 97-110.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปถวี สาระวรรณ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร: กรณีศึกษาส่วนควบคุมทางศุลกากรสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรวลี หนูรอด. (2564). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากร กรณีศึกษาที่ทำการปกครอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ, การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยุพาพร รัตนบุรี. (2560). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านธุรการของสำนักงาน อัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา สกุณี. (2561). สมรรถนะหลักและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานในบริษัทอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรล์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไลลักษณ์ วงศ์บัณฑิตย์, ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน และโสภาพร กล่ำสกุล. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำงานของกำลังพลในมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 271-285.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ศิริลักษม์ ตันตยกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
สถาบันการบินพลเรือน. (2567). สรุปข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมการบินของไทยประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2567, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สิทธิศักดิ์ สวัสดีผล, ธัญนันท์ บุญอยู่ และสุมาลี รามนัฏ. (2564). อิทธิพลโครงสร้างของสมรรถนะสภาพแวดล้อมการทำงาน และความพึงพอใจของพนักงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกล จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 115-128.
สิริวดี ชูเชิด. (2564). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 12(1), 223-238.
อลงกต สุขุมาลย์ และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2560). โครงสร้างองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ภายหลังการปรับเปลี่ยนตามแนวทางการบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 1-13.
อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2565). ประสิทธิภาพตามแนวคิด 7S ของ McKinsey: กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 5-14.
อุไรวรรณ เตียนศรี และศรุดา สมพอง. (2562). การปรับโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 127-140.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 ประทีป ตุ้มนิลกาล, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.