แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, อุทยานแห่งชาติเจ็ดสาวน้อย, จังหวัดสระบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย 2) ความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย และ3) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ใช้การวิจัยแบบผสมกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยในปี พ.ศ.2566 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการและระบบการคมนาคม ด้านการให้บริการภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย และด้านระบบการจัดการขยะด้านให้บริการด้านร้านค้า
ความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านได้แก่ ด้านระบบการจัดการขยะด้านให้บริการด้านร้านค้า ด้านการให้บริการและระบบการคมนาคม และด้านการให้บริการภายในอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่และการบริการที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว โดยเสนอการเพิ่มพื้นที่จอดรถ ระบบจองล่วงหน้า และส่งเสริมการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงการจัดการจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวันและพัฒนาสินค้าในพื้นที่ให้มีคุณภาพ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย เช่น ห้องสุขาที่สะอาด จุดพักผ่อน และป้ายบอกทางชัดเจน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). แผนแม่บทการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: การส่งเสริมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง
จุฑาทิพย์ เจริญลาภ และคณะ. (2545). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา.
เจษฎา อินทร์อ่อน และชาญชัย จิวจินดา. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปี การศึกษา 2564, 494-501.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ดีไซน์ จำกัด.
ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิคม จารุมณี. (2535). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
ทนงศักดิ์ เองฉวน และ อรอนงค์ เฉียบแหลม. (2564). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ย้อนรอยพระเศวต อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(3), 340 -351.
ชวัลนุช อุทยาน. (2551). พฤติกรรมนักทองเที่ยว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ณัฐชนก เพชรพรหม. (2554). วิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี. รายงานผลการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (2563). แนวทางการพัฒนาเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 1-14.
ประพล จิตคติ. (2564). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(1), 73-86.
ปารวดี ศิริ. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางเมืองบุญหลวงแห่งล้านนา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา
รัมภ์รดา สารอุป. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำ ณ บ่อน้ำพุร้อนฝาง อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วริษา ตันติสุทธิเวท. (2550). ผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวต่อชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษา ชุมชนตำบลเชิงทะเล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิมล จิโรจพันธุ์ และคณะ. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: พิมพ์แสงดาว.
โศรยา สิ่งชูวงศ์. (2546). วิวัฒนาการแหล่งท่องเที่ยวกรณีเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม. กรงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุ่งฟ้า สะแกกลาง. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 อณัฐธิภา วันเพ็ง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.