การเปลี่ยนแปลง ความพร้อม และการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4: กรณีศึกษาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ทิพย์รัตน์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • เอก ชุณหชัชราชัย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4, ระบบปัญญาประดิษฐ์, ภัยคุกคามทางไซเบอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปลี่ยนแปลง ความพร้อม และการปรับตัว ต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย และส่งผลกระทบด้านอุตสาหกรรม การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย

อย่างไรบ้างผ่านมุมมองและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน ประกอบด้วยตัวแทนสภาอุตสาหกรรม 5 คน เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของประเทศไทย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่มีความพร้อมและความสามารถทางการแข่งขันในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และมีความจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีและวัตถุดิบจากภาคอุตสาหกรรมประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จนทำให้ทางประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามามีอิทธิพลครอบงำภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่โดยสมบูรณ์ อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยได้พบเจอกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ภัยคุกคามทางไซเบอร์”

References

เคลาส์ ชวาบ. (2561). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ [The Fourth Industrial Revolution] (ศรรวริศา เมฆไพบูลย์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เคลาส์ ชวาบ และนิโคลัส เดวิส. (2561) ทางรอดในโลกใบใหม่ แห่ง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ [Shaping the Fourth Industrial Revolution] (ศรรวริศา เมฆไพบูลย์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2561). Industrial Robotics & Mechatronics Applications. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.

นิโคล เพิร์ลรอธ. (2023). THIS IS HOW THEY TELL ME THIS WORLD ENDS นี่คือสิ่งที่เตือนโลกจะถึงคราอวสาน (แพรพิไล-ศักดิ์ชัย จันทร์พร้อมสุข, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอลพริ้นท์ จำกัด.

ปิติ ศรีแสงงาม และจักรี ไชยพินิจ. (2567). Amidst the Geo-Economic Clashes ไทยในสงครามเย็น 2.0. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ และเกียรติศักดิ์ จันทร์ลอย กับ สมชิต กิจทางพูล. (2564). CYBER SECURITY อย่าปล่อยให้ใครใช้ข้อมูลคุณ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ยูวัล โนอาห์ แฮรารี. (2561). เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ [Sapiens A Brief History of Humankind] (นำชัย ชีววิวรรน์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำกัด.

สุรชาติ ไตรภพสกุล และชาคริต พิชญางกูร. (2567). Innovation Management (การจัดการนวัตกรรม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2565). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศเบื้องต้น (Introduction to International Economics). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2567). AI Starter ก้าวแรกสู้ (AI Starter) สร้างโอกาสและความรู้สู่ชีวิตด้วย AI. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).

Davenport, T. & Mittal, N. (2023). All in on Ai ชนะเกมธุรกิจ พิชิตด้วยเอไอ (เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ ศักดา. ผู้แปล). นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

KAI-FU LEE. (2020). AI SUPERPOWERS. กรุงเทพฯ: บริษัท ซุปเปอร์โพซิซั่น จำกัด.

Little Thoughts. (2567). WORLD EXPO REVISITED ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคอุตสาหกรรมผ่านงานนิทรรศการโลก. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด.

Philip Coggan. (2565). More เปิดประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (พลอยแสง เอกญาติ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

ทิพย์รัตน์ ส., & ชุณหชัชราชัย เ. . (2025). การเปลี่ยนแปลง ความพร้อม และการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4: กรณีศึกษาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 200–233. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1306