ประสิทธิภาพการจัดการข้อร้องเรียนประชาชนผ่าน แอพพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เอกสิทธิ์ ปินตา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรพงศ์ ตระการศิรินนท์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การจัดการข้อร้องเรียน, แอพพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการข้อร้องเรียนประชาชน และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการนำแอปพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ มาใช้ในการให้บริการประชาชนในเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 21 คน ผลการวิจัยพบว่า การนำแอพพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการสื่อสาร ลดความยุ่งยาก แอพพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ สามารถช่วยจัดการข้อร้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) ด้านความโปร่งใส ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน 2) ด้านระยะเวลาการจัดการ ช่วยให้กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนมีความรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการจัดการข้อร้องเรียน 3) ด้านค่าใช้จ่าย ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับและจัดการข้อร้องเรียน 4) ด้านความปลอดภัย มีระบบความปลอดภัยในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและการเข้าถึงข้อมูล ส่วนปัญหาและอุปสรรค พบว่า เป็นปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ปัญหาด้านความรู้และทักษะในการใช้งาน ปัญหาด้านความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการใช้เทคโนโลยี ขาดการฝึกอบรมในการให้บริการและการใช้งานผ่านระบบ และปัญหาด้านข้อจำกัดด้านข้อมูล ทำให้การวิเคราะห์และตอบสนองต่อปัญหา ซึ่งอาจส่งผลให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดและไม่ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

References

กุญฎา เปรมปรีดิ์. (2563). การแก้ไขปัญหาและข้อร้องเรียนด้วยการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน Traffy Fondue กรณีศึกษา สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2564). แพลตฟอร์ม Traffy Fondue. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567, จาก https://www.dla.go.th/index.jsp

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). คู่มือการปฏิบัติงานและการดำเนินงานของกระบวนการหลักการรับเรื่องร้องเรียน. ค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567, จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/Documents/2566.pdf

ขวัญชัย ชมศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชรินรัตน์ ลีกระจ่าง และนิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2567). แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์: นวัตกรรมเพื่อการให้บริการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 6(2), 36-50.

ณัจศรัณย์ จรรยา. (2566). การนำแอปพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์มาใช้ในการให้บริการรับเรื่องร้องเรียน: กรณีศึกษาสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำ สังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ณริดา ทองรัตน์ธนดล, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ และรังสรรค์ ประเสริฐศร. (2566). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการบริหารจัดการปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 14(2), 248-261.

เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง. (2563). แอปพลิเคชั่น Traffy Fondue. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567, จาก http://www.nongpakhrang.go.th/web/viewnews.php?id=574&topic

นรินทร บุณยโยธิน. (2566). การนำ Traffy Fondue มาใช้ในการให้บริการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ของสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นายิกา เดิดขุนทด. (2550). LibQUAL+TM : เครื่องมือประเมินคุณภาพบริการห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อินฟอร์เมชั่น.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.

พลฤทธิ์ จิระเสวี. (2550). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาล ตา หู คอ จมูก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พิมล เมฆสวัสดิ์. (2550). การประเมินคุณภาพการบริการสำนักงานหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรารัตน์ เจนวรพจน์. (2566). การนำนโยบายทราฟฟี่ฟองดูว์ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2565). เอกสารประกอบการคำบรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชญวัชร์ สุภสุข. (2565). การใช้แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา สำนักงานเขตพระนคร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วสันต์ ภัทรอธิคม. (2565). เปิดตัว Traffy Fondue 2023 และมุมมองประสบการณ์การใช้งานมุ่งสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่. ค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.nectec.or.th/ace2022/con04-traffy-fondue/index.htm

สกุลตรา กฤชเทียมเมฆ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของฝ่ายผลิต บริษัท พีแซท คัสสัน ประเทศไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขสการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานส่งเสริมแศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ. ค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567, จากhttps://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). ทราฟฟี่ ฟองดูว์: แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง. ค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.nstda.or.th/nac/2023/exhibitions/ex07/

เอมอร เสือจร, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ และเฉลิมพล ศรีหงษ์. (2567). การนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษากองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 285-315.

De Bono E. (1991). Edward De Bono’s Textbook of Wisdom. England: Penguin Group.

เผยแพร่แล้ว

12-12-2024

How to Cite

ปินตา เ., & ตระการศิรินนท์ ว. . (2024). ประสิทธิภาพการจัดการข้อร้องเรียนประชาชนผ่าน แอพพลิเคชั่นทราฟฟี่ฟองดูว์ เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(3), 310–336. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1194