จารึกเจ้าฟ้าสาวัตถีที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จารึกเจ้าฟ้าสาวัตถีที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่านเป็นจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นไม้ 2 แผ่น ได้แก่จารึกสร้างพิหารที่พระธาตุแช่แห้ง แผ่นที่ 1 (นน. 236) ซึ่งระบุปีที่สร้างวิหารด้วยปีหนไทว่าปีดับเร้าซึ่งตรงกับ จ.ศ. 947 (พ.ศ. 2128) และจารึกสร้างพิหารที่พระธาตุแช่แห้ง แผ่นที่ 2 (นน. 237) จารึกหลักนี้พบแต่เพียงภาพถ่ายจากการจำลองตัวอักษรจากสำเนาจารึกอีกทอดหนึ่ง แต่ก็มีรูปอักษรที่เป็นลายมือเดียวกันกับจารึกแผ่นที่ 1 จึงน่าเชื่อว่าเป็นจารึกของเจ้าฟ้าสาวัตถีเช่นกันและอาจสันนิษฐานอายุของจารึกทั้งสองแผ่นนี้ตามปีที่สร้างวิหารเสร็จว่าน่าจะมีอายุประมาณ พ.ศ. 2131 ซึ่งเป็นสมัยท่ี่พญาหน่อคำไชยเสถียรสงครามเป็นเจ้าเมืองน่าน เนื้อหาของจารึกแผ่นที่ 1 นอกจากจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างวิหารแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนล้านนาในเรื่องพระธาตุและตำนานพระเจ้าเลียบโลก ตลอดจนความเชื่อเรื่องพุทธทำนายเกี่ยวกับท้าวขาก่านเจ้าเมืองน่านซึ่งต่างไปจากจารึกกัลปนาโดยทั่วไป ส่วนจารึกแผ่นที่ 2 ให้ความรู้ในเรื่องจำนวนและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างวิหารในล้านนาสมัยโบราณ แม้เนื้อหาของจารึกทั้ง 2 แผ่นไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจารึกการสร้างวิหารที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น แต่ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการศึกษาประวัติของเมืองน่านในช่วงแรกที่อยู่ในอำนาจของพม่ารวมทั้งศึกษาประวัติของวัดพระธาตุแช่แห้งได้เป็นอย่างดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. (2545). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
นวพรรณ ภัทรมูล. (2561). “จารึกบนแผ่นไม้กระดาน วัดพระธาตุแช่แห้ง : คำอ่านและปริวรรตรอบหลัง”. เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/articles/detail/19427
บุปผา คุณยศยิ่ง. (2542). “ชุธาตุ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ 4: 1883-1887.
ประเสริฐ ณ นคร และคณะ. (2553). ภาคผนวก จ. “นน. 236 จารึกสร้างพิหารที่พระธาตุแช่แห้ง (แผ่นที่ 1) นน. 237 จารึกสร้างพิหารที่พระธาตุแช่แห้ง (แผ่นที่ 2).” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย.
พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ โคลงมังทรารบเชียงใหม่. (2552). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสภา. (2474). ตำนานพระธาตุแช่แห้งเมืองน่าน. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าผู้ครองนครน่าน ปีมะแม พ.ศ. 2474).
สงวน โชติสุขรัตน์. (2556). ประชุมตำนานล้านนาไทย. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. ปริวรรตและอรรถาธิบาย. (2565). ตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับวัดพระเกิด ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค. วัยอาจ. (2547). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุคส์.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และศรีเลา เกษพรหม. (2547). พิมพ์ครั้งที่ 2. “1.7.2.1 วัดพระธาตุแช่แห้ง พ.ศ. 2128.” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 4 จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงใหม่. เชียงใหม่: คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bock, Carl. (1884). Temples and Elephants: The Narrative of a Journey of Exploration Through Upper Siam and Lao. Accessed 15 October 2022. Available from D-Library | National Library of Thailand, http://digital.nlt.go.th/items/show/17225.
Conway, Susan. (2014). Tai Magic Art of the Supernatural in the Shan States and Lanna. Bangkok: River Books.
Pavie, Auguste. (1898). “XXIX, XXX, XXXI. Inscriptions Thaies.” In Mission Pavie. Indo-Chine 1879-1895. Etudes diverses II. Recherches sur l’Histoire du Combodge du Laos et du Siam. Paris: Ernest Leroux.