คำจารึกที่ค้นพบใหม่ที่พระพุทธรูปในอุโบสถเก่าวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่: รูปแบบศิลปะ และการตีความทางประวัติศาสตร์

Main Article Content

พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล)
พระครูสิริธรรมเมธี (อุดร ทีปวํโส)
พระมหาวิทยา พลวฑฺฒโน (บุรีเลิศ)
ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอถึงการค้นพบหลักฐานใหม่ เป็นจารึกที่ไม่เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อนพบที่ฐานพระประธานในอุโบสถเก่าวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระพุทธรูปดังกล่าวได้มีการพอกปูนทับมาหลายยุคหลายสมัย หลังกะเทาะปูนออกแล้ว พบว่ามีคำจารึกที่ฐานพระ โดยในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอ 1) คำอ่านจารึก 2) รูปแบบของพระพุทธปฏิมากับอายุสมัยของจารึก 3) คุณค่า การตีความทางประวัติศาสตร์ล้านนาที่สัมพันธ์กับข้อความในจารึก พบว่ารูปอักษรที่ปรากฏเป็นอักษรธรรมล้านนา พุทธศตวรรษที่ 22 ใจความสำคัญกล่าวถึง ในปี จ.ศ. 949 (พ.ศ. 2130) เจ้าศรัทธาผู้สร้างนามว่า “ปัญรักสา” พร้อมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้อง ได้เป็นประธานภายนอก (ฝ่ายฆราวาส) ส่วนภายใน (ฝ่ายบรรพชิต) มีพระมหาสมเด็จฯ เจ้าอธิปติวัดพระสิงห์ เจ้าอธิปติวัดสวนดอก และเจ้าอธิปติวัดเจติยะหลวง การพบจารึกหลักนี้เมื่อศึกษาลงไปภายใต้กระบวนทัศน์และบริบทที่หลากหลายทำให้เข้าใจโลกทัศน์สภาพสังคมล้านนาในช่วงแรกของการปกครองโดยพม่า พบว่าพม่าเพียงแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น ในด้านประเพณี วัฒนธรรม ยังคงมีความสืบเนื่องจากสมัยล้านนายุคทองตอนปลายเช่นเดิม

Article Details

How to Cite
อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล) พ., (อุดร ทีปวํโส) พ., พลวฑฺฒโน (บุรีเลิศ) พ., & ปัญจบุรี ณ. (2024). คำจารึกที่ค้นพบใหม่ที่พระพุทธรูปในอุโบสถเก่าวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่: รูปแบบศิลปะ และการตีความทางประวัติศาสตร์. ภาษา-จารึก, 1(1), 243–268. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/608
บท
บทความวิชาการ

References

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2518). รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ 7. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

ธนจรรย์ สุรมณี และคณะ. (2539). เกร็ดประวัติวัดเจดีย์หลวง ฉบับบสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์.

ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2562). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่ เชียงตุง. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

พงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล. (2566). “อิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนา.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระรตนปัญญามหาเถระ และแสง มนวิทูร, ผู้แปล. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2551). ศิลปะเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พระพุทธรูปในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2556). ประชุมตำนานล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2566). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ฮันส์ เพนธ์. (2519). คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ฮันส์ เพนธ์. (2547). ประวัติศาสตร์ล้านนาฉบับย่อ. เชียงใหม่: หอศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซิลค์เวอร์ม.