ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปุญญพัฒน์ พานมะลิ
ศรีรัฐ โกวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการรับรู้ข่าวสารกับระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 305 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One Way ANOVA, Chi-square, Scheffe และ Cramer’s V โดยมีระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในจังหวัดปทุมธานี มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รายได้ที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และช่องทางการรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีในภาพรวม มีทิศทางตามกันค่อนข้างน้อย

Article Details

How to Cite
พานมะลิ ป., & โกวงศ์ ศ. (2025). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. Journal of Spatial Development and Policy, 3(2), 115–124. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1657
บท
บทความวิจัย

References

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 134 ตอนที่ 10 ก. , หน้า 24-35

สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2565). อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมไทยในวันนี้ ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://www.oja.go.th/wp-content/uploads/2023/09/updating-thai-criminal-justice-2022-new.pdf.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2566 - 2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. สืบค้นจาก http://www.pathumthani.go.th/new_web/webplan/1.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สำรวจการมีและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก https://catalogapi.nso.go.th/api/doc/ICTH_7_20.pdf.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2565). สถิติทางการทะเบียน. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/.

อานนท์ รักติกูล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเจเนอเรชั่นซีและเจเนอเรชั่นวาย. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Buchner, A. (2010). G*Power: Users Guide-Analysis by design. Düsseldorf: Heinrich-Heine-Universitat.