การศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตเครื่องดื่ม “A” ในประเทศไทย

Main Article Content

กิ่งแก้ว พันทะบุตร
อาทิตยา แก้วคง
อนุวัต สงสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และ (2) ปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทผลิตเครื่องดื่ม A ในภาคใต้ จำนวน 267 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามในรูปแบบของ Google Form ซึ่งมีข้อคำถามแบบเลือกตอบ และแบบประมาณค่าตามแนวทางของลิเคิร์ท โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจูงใจซึ่งประกอบด้วย การได้รับการพัฒนา ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความสำเร็จของงาน ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ขณะเดียวกัน ปัจจัยค้ำจุน ซึ่งประกอบด้วย สถานะของอาชีพ การนิเทศงาน นโยบายและการบริหารงาน ความมั่นคง และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับบริษัทผลิตเครื่องดื่มหรือบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในบริบทเดียวกัน ในการจูงใจและธำรงรักษาพนักงาน รวมถึงการจัดการผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

Article Details

How to Cite
พันทะบุตร ก., แก้วคง อ., & สงสม อ. (2025). การศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตเครื่องดื่ม “A” ในประเทศไทย. Journal of Spatial Development and Policy, 3(2), 45–56. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1618
บท
บทความวิจัย

References

กานต์พิชชา บุญมี, ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล, อรุณี ยศบุตร และ กุลชญา แว่นแก้ว. (2566). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานการเงินและบัญชี ของบุคลากรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(2), 76-91.

ฆฬิสา สุธดาอนันตโภคิน. (2564). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1), 23-38.

ธัญรัศม์ จิรฐิติเกียรติ และ ณฐนนท์ ทวีสิน. (2567). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย: กรณีศึกษาอิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 26-46.

ปฐมพงค์ กุกแก้ว, ธีรารัตน์ ปางยะพันธุ์ และ ขวัญฤดี เผือกผ่อง. (2567). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 137-148.

ปริณดา ปันหล้า, อัศนีย์ ณ น่าน และ ศศิชา วงศ์ไชย. (2566). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานอัยการภาค 5. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 143-156.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

พิมพ์ชนก เฟื่องฟู. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาข้าราชการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

มลิวรรณ ชาจันโท, กิตติมา จึงสุวดี และ นลินี ทองประเสริฐ. (2566). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 10(2), 215-230.

วีระวัฒน์ ชาแสน และ ละมัย ร่มเย็น. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(3), 60-74.

ศิรินญภัฐ สิทธิจักร. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

Belsley, D.A. (1991). A Guide to using collinearity diagnostics. Computer Science in Economics and Management, 4(1), 33-50.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (2006). Research in education. (10th ed.). Boston: Pearson Education Inc.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Herzberg, F., Bernard, M., & Barbara, B.S. (1959). The motivation to work. (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Peterson, E., & Plowman, G. E. (1989). Business organization and management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.