พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย และส่วนประสมทางการตลาดของการใช้บริการโรงแรมในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่จังหวัดระยอง (2) วิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการโรงแรมในพื้นที่จังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าต่ำสุด (Min) ค่าสูงสุด (Max) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อน โดยเลือกมาพักจำนวน 1 คืน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคืนเท่ากับ 1,500–2,500 บาท ซึ่งสาเหตุหลัก คือ โรงแรมมีบรรยากาศที่น่าพัก และส่วนใหญ่นิยมจองห้องพักผ่านแอพพลิเคชั่นเว็บไซต์ จากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่า นักท่องเที่ยวในจังหวัดระยองมีความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. สืบค้น 16 สิงหาคม 2567. จาก https://www.mots.go.th/news/category/705.
ชิดชนก ศรีเมือง. (2561). พฤติกรรมและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวทางทะเลภาคตะวันออก. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ).
ชนิดา ขวัญทอง. (2563). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการมาท่องเที่ยวเกาะเสม็ดจังหวัดระยอง. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
ณัทธ์วีรินทร์ ทัพวนานต์. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการใช้บริการโรงแรมกับความภักดีของลูกค้าโรงแรมบ้านนันทสิรี จังหวัดระยอง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
ปุญญาพร บุญธรรมมา. (2563). คุณภาพการบริการและพฤติกรรมการเข้าพักที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการโรงแรมขนาดกลางใน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
วรรณพร วจะสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสินใจท่องเที่ยวเกาะเสม็ดจังหวัดระยองของนักท่องเที่ยวเจเนอชั่นวาย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาลัยวิทยาบูรพา)
ศุภชัย ภูมิรัตนไพศาล และ บุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตจังหวัดระยอง. วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 127-128.
ศิริพร บุตรสนม. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวควาพึงพอใจและการตัดสินใจสะพานรักษ์แสมจังหวัดระยอง. (นิเทศศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุมชลบุรี)
สำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง. (2567). รายงานสถานการณ์และดัชนีวัดภาวะแรงงานระยอง. สืบค้น 6 กันยายน 2567. จาก https://rayong.mol.go.th/news_group/labour_situation.
อนุรักษ์ ทองขาว. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของโรงแรมระดับ 3-5 ดาว ในเขตเมืองพัทยา (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยดุสิตธานี.