การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ขององค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

สุภาวดี กันธร

บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ สำหรับ การจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) ที่มีอยู่ในองค์กร กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


            ข้อค้นพบ องค์กรที่สามารถจัดการสารเทศและการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขัน ที่ใช้ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้ เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ ที่เรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธี เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการขับเคลื่อนองค์การเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์บริบท ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร 2) การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร 3) การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร 4) การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ และ 5) การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กร


          องค์ความรู้ การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ขององค์กรต้องมีการทบทวนข้อมูลสารสนเทศขององค์กรออกแบบจัดทำข้อมูลสารสนเทศเชิงอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้องค์กรมีความมั่นใจว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง ความคงสภาพ เชื่อถือได้และระบบสารสนเทศนั้น ต้องวิเคราะห์ความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบการใช้งาน การใช้งานที่ง่ายสำหรับบุคลากรและกับลูกค้า มีวิธีการสร้างความเชื่อถือ การจัดการความรู้ขององค์กร การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร ผสานและเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล การถ่ายทอดองค์ความรู้ขององค์กรให้กับบุคลากรได้รับทราบ และสามารถต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศขององค์กร ด้วยการค้นหาข้อมูลจากการปฏิบัติการ ให้มีผลการดำเนินการที่โดดเด่น เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กร


            สรุปโดยย่อ การจัดการสารสนเทศ เป็นการจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบายหรือกลยุทธ์ระดับองค์การ ที่มีความสำคัญต่อองค์การ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย การจัดการความรู้ หรือ KM (Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายทั้งตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนองค์การเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การกำหนดนโยบายความยั่งยืนขององค์กร 3) การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร 4) การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ และ 5) การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กร

Article Details

How to Cite
กันธร ส. (2024). การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ขององค์กรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. Journal of Organizational Management Excellence, 2(4), 15–31. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/950
บท
Articles

References

เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2558). ประชากรกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต ประภตนนท์. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ธงชัย สมบูรณ์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศพัฒนา และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา อมรสิน, สายฝน สารผล และบุญสืบ โพธิ์ศรี. (2566). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.

บริษัทพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (2567). การพัฒนาองค์การธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: https:// setsustainability.com/page/sustainability-manage ment-process. ศูนย์การพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน.

มานิตย์ บุญช่วย. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์วิชาการ.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขใจ.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2557). กรณีศึกษา Best Practices กระบวนการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: เรดเฟริร์น ครีเอชั่น.

Burch, John G, and Strater Felix, R. (2002). Information Systems Theory and Practice. McGraw Hill.

Devis Gordorn B. (2008). Management Information Systems. Conceptual Foundation, Structure and Development, McGraw Hill.

Nonak, Ikujio and Hirotaka TaJkcuchi. (2001). The Knowledge crabbing Company. University Press.