การใช้แบบฝึกทักษะในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ เป็นสื่อการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียน จะมีแบบฝึกหัดเป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝนและกิจกรรมควรมีรูปแบบที่หลากหลายดังนั้นแบบฝึกหัดจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นอย่างมากในการช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแบบฝึกจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อย ในการที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครู และการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างแบบฝึกจะต้องคำนึงถึงจิตวิทยาเพื่อให้ได้แบบฝึกที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียน และยังเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความพึงพอใจที่จะทำแบบฝึก ครอบคลุมเนื้อหา รูปแบบน่าสนใจ ได้รับประสบการณ์ตรง เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความชัดเจนของคำสั่ง และได้ลงมือกระทำเองจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน และสามารถประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนได้ด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในด้านการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นคุณลักษณะความรู้ ความสามารถของบุคคลที่มีการพัฒนาขึ้นหลังจากได้รับการเรียนการสอนการฝึกฝนและการอบรมจนประสบความสำเร็จในด้านความรู้ทักษะ และสรรถภาพด้านต่าง ๆ ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถทางด้านการเรียนของแต่ละบุคคลที่ ประเมินได้จากการทำแบบทดสอบหรือการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งทางด้าน ทักษะปฏิบัติ โดยการใช้แบบทดสอบภาคปฏิบัติ และการวัดทางด้านเนื้อหา โดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นตัวชี้วัดทางการเรียนโดยเฉพาะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก ต่อไป
องค์ความรู้ แบบฝึกทักษะ ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบการสอน ด้านประสบการณ์ ด้านความเหมาะสมกับวัยผู้เรียน และด้านทัศคติของผู้เรียน นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ในด้านความพร้อมของสื่อการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านวิธีการสอน จะส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อผู้เรียนในด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ที่ยั่งยืนต่อไป
สรุปโดยย่อ แบบฝึกทักษะส่งผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2543). หนังสือเรียนภาษาไทย ท101 ท102 หลักภาษาไทยเล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณิศร ศรีประไพ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญนา เกษี. (2556). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ ระบบสมการเชิงเส้น ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. รายงานการวิจัย. ชลบุรี: โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์อำเภอพานทอง.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2563). วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.http:// kruoiysmarteng.blogspot.com/2020/07/achievement.html
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพ มหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แบเนจเม็นท์.
ไพบูลย์ เทวรักษ์. (2540). การวัดระดับสติปัญญา. กรุงเทพมหานคร: เอส ดี เพรสการพิมพ์.
ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2563). วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.http:// kruoiysmarteng.blogspot.com/2020/07/achievement.html
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรรณรัตน์ อึ้งสุประเสริฐ. (2544). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทร์เกษม.
สาคร ธรรมศักดิ์. (2541). ผลการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึมแบบรวมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก่ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาป่ที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2538). คู่มือการใช้เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา : ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). การนิเทศเพื่อส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา
สุจริต เพียรชอบ. (2550). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2543). แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้สู่บูรณาการ. ชัยนาท: โมเดิร์นโอม.