ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทบาทของพรรคการเมืองที่มีผลโดยตรงต่อการปกครองประเทศ และการพัฒนาประเทศในทุกๆ มิติ รัฐต่างๆในปัจจุบัน ระบบพรรคการเมืองหลายพรรคระบบพรรคการเมือสองพรรคและระบบพรรคการเมืองพรรคเด่น พรรคเดียวจะปรากฏตัวอยู่ในรัฐเสรีประชาธิปไตยในขณะที่ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวก็ดำรงการบริหารประเทศต่อไปได้ การวิจัยครั้งนี้มวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองที่จะได้รับมาเปรียบเทียบศึกษาวิเคาะห์แนวโน้ม ที่จะเกิดขึ้นในการเลือกตั้งในครั้งต่อไประหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองต่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 500 คน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ปัจจัยด้านที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านลักษณะของพรรคการเมือง และด้านที่มีปัจจัยต่อการเลือกพรรคการเมืองน้อยที่สุด คือ การรับรู้ข่าวสาร ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการเลือกพรรคการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านรูปแบบการหาเสียง รูปแบบของหัวหน้าพรรคการเมือง การมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์ต่ออิทธิพลต่อการเลือกพรรคการเมืองอีกด้วย
องค์ความรู้ใหม่ พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง การให้ความรู้ทางการเมือง การสร้างสำนึกทางการเมืองและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่พึงประสงค์ การแสดงออกทางการเมือง รวมทั้งการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพทางการมือง พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันทางการเมืองที่สร้างผู้นำทางการเมืองด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองมีความเหมาะสมในการสร้างผู้นำทางการเมืองต้องมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
Article Details
References
ถวิลวดี บุรีกุล. (2554). การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัคร. สถาบันพระปกเกล้า
มนตรี เจนวิทย์การ. (2548). พรรคการเมืองขนาดเล็กในการเมืองและการเลือกตั้งของไทย. วารสาร สถาบัน พระปกเกล้า. 3 (1), 23-38.
โกเมศ ขวัญเมือง. (2563). พรรคการเมืองเปรียบเทียบ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ยุทธพร อิสรชัย. (2554).วาระเลือกตั้ง : บทวิเคราะห์ว่าด้วยการเลือกตั้ง. สถาบันพระปกเกล้า.
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). ทางเลือกระบบเลือกตั้งในห้วงเวลาแห่งความโกลาหลของไทย. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย