พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

พัชนียา ชูแสงศรี

บทคัดย่อ

          พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหา การได้มาซึ่งสินค้าและบริการ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจซึ่งมีมาก่อนแล้ว มีส่วนในการกำหนดการกระทำดังกล่าว   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 202 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมของทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำมาก (Mean = 1.6122) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำ (S.D. = 0.42275) ซึ่งแสดงถึงความไม่ดีในพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยรวม โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำมากในทุกข้อ หากต้องการปรับปรุงสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษา อาจจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและการแนะนำให้นักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
          องค์ความรู้ใหม่ นักศึกษามีการปรับพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น และลดการบริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลของทอดและไขมันสูง แต่ควรเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีในพลังงานต่ำและเพิ่มการรับประทานสารอาหารสูง ผักและผลไม้เต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และเยื่อใยอาหาร มีประโยชน์ในการบำรุงร่างกายและสุขภาพทั่วไป
          โดยสรุป พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยรวม โดยมีคะแนนเฉลี่ยต่ำมากในทุกข้อ

Article Details

How to Cite
ชูแสงศรี พ. (2024). พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal of Organizational Management Excellence, 1(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/575
บท
Articles

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

พรมิตร กุลกาลยืนยง (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยและปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคกลุ่ม Gen-X และ Gen-Y. /วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (1), 61-67.

ไพรวัลย์ โคตรตะ (2565). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 16 (3), 799-815.

ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์ (2555). พฤติกรรมการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องของวัยรุ่นและเยาวชนไทย. Nursing Journal CMU. 39 (4), 179-190.

สงกรานต์ เอี่ยมรอด. (2564).พฤติกรรมการบริโภคในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี

Gilaninia, S., Taleghani, M., & Azizi, N. (2013). Marketing mix and consumer behavior. Kuwait Chapter of the Arabian. Journal of Business and Management Review. 2 (12), 53.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.