ความเป็นเลิศทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 หมวด 6 มาตราที่ 47 49 และ 51 ว่าด้วยเรื่อง มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลัก อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
รูปแบบการวิจัย เป็นแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร และครู จำนวน 152 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งแบบโครงสร้าง โดยใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ รองลงมาคือด้านผลลัพธ์ และด้านการนำองค์กร ตามลำดับ
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลัก อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา คือ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำทางความคิดที่มีวิสัยทัศน์ในการวางนโยบายในการบริหาร ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับบุคลากรในทุกระดับอยู่เท่าเทียมกัน
สรุปโดยย่อ การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลัก อิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ดังนี้ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำทางความคิด ที่มีวิสัยทัศน์ในการวางนโยบายในการบริหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังสามารถกำหนดโครงสร้างการบริหารของโรงเรียนได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีการกำกับ ดูแล และ ติดตามการดำเนินงานแผนงาน/โครงการที่วางไว้
Article Details
References
ชูชีพ อรัญวงศ์ (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนระหานวิทยา อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. รายงานการวิจัย. โรงเรียนระหานวิทยา.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2551). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรความเป็นเลิศ. กรงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). โรงเรียน : การบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สมพร เทพสิทธา. (2542). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน-OBECQA. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมร โสกณวิเชษฐ์วงศ์ และกวี อิศริวรรณ. (2535). หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส018- ส019 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
Astin. A. W. (1993).Assessment for Excellence : The Philosophy and Practice of Assessment and Evaluation in Higher Education. Phoenix. AZ : Oryx Press.
Doherty. G. D. (1994) .Developing Quality Systems in Education. New York: Routledge,
Hoy. W.K. and Miskel. C. G. (2001).Educational Administration Theory. Research and Practice. 6th ed. Singapore: McGraw-Hill,
Oakland. J. (2000).Total Quality Management : Text With Cases. 2nd ed.. Oxford. United Kingdom: Butterworth Heinemann,
Robbins. Stephen P. (1998). Organization Behavior. 8 th ed. Englewood Cliffs. NJ: Prentic-Hall,
Sallis. E. (1993).Total Quality Management in Education..London: KoganPage,
The American Heritage Dictionaries. (1991). (Ed.) System. In The American Heritage Dictionary of the English Language. 3rd cd.. Boston: Houghton Mifflin,