การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ผู้บริหารที่มีความสามารถในการจัดองค์กร สามารถวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยน และปรับตัวอย่างชาญฉลาด รู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ข้อจำกัด เพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ในการจัดการอย่างมีศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะการสนับสนุน และทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้มืออาชีพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและกรอบแนวคิดของความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ 2) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ และ 3) พัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ
รูปแบบการวิจัย เป็นการวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Explanatory Mixed Methods Research) เป็นการผสมผสานระหว่างวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology Research) เข้าด้วยกันในการให้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ พบว่า ได้ 4 องค์ ประกอบหลัก ได้แก่ 1) บุคลิกภาพ (Personality) 2) จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ (Professional value) 3) ความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพ (Professional Knowledge) และ 4) สมรรถนะความเป็นมืออาชีพ (Professional Competency) และ 15 องค์ประกอบย่อย
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลิกภาพ (Personality) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ (Professional value) ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) ความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพ (Professional Knowledge) 2) สมรรถนะความเป็นมืออาชีพ (Professional Competency) 3) จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ (Professional value) และ 4) บุคลิกภาพ (Personality)
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ได้แก่ ความพอใจ เต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ ความพยายามในการทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ความเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ รูปแบบประกอบด้วย หลักการ/แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา และผลลัพธ์ที่คาดหวังผลการประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง ระดับมากที่สุด
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ การต่อยอดพัฒนาด้านความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพ ใน จิตวิทยาพัฒนาการของผู้เรียน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา พัฒนาด้านสมรรถนะความเป็นมืออาชีพ การวิเคราะห์สภาพปัญหา/วิเคราะห์ความเสี่ยง ภาวะผู้นำทางวิชาการ และการประเมินและเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม
สรุปโดยย่อ ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ พบว่า ได้ 4 องค์ ประกอบหลัก และ 15 องค์ประกอบย่อย ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ได้แก่ ความพอใจ เต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ ความพยายามในการทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง รูปแบบประกอบด้วย หลักการ/แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา และผลลัพธ์ที่คาดหวังผลการประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง ระดับมากที่สุด
Article Details
References
ชัยเศรษฐ์ พรหมศรี (2546). ผู้บริหารแห่งอนาคต. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2546). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปิยพจน์ ตุลาชม. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11 (53), 173-178.
พัฐณสิญ นวโลจิตรัตน์. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคกลาง. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาลี สืบกระแส. (2552). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ งามกนก. (2563). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ : คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพ การบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 3 (1), 69-77.