กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาจันทรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จต่อองค์กรราชการหรือหน่วยงานเอกชน ย่อมต้องมีบทบาทคุณสมบัติที่เหมาะสมในการบริหารงานต่าง ๆ มีพฤติกรรมในการทำหน้าที่ ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การขึ้นอยู่กับผู้นำ หรือผู้บริหาร ซึ่งจะเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการหรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รูปแบบการวิจัย การวิจัยวิธีวิทยาแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ การวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและทุกประเด็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามความสำคัญของความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อน ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนี PNI ได้ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม 2) ด้านความชำนาญ 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และ 4) ด้านวิสัยทัศน์
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 กลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์พลิกโฉมผู้นำวิสัยทัศน์ร่วม 2) กลยุทธ์พัฒนาผู้นำสู่ความชำนาญด้วยนวัตกรรม 3) กลยุทธ์กระชับมนุษย์สัมพันธ์ของผู้นำอย่างยั่งยืน และ 4) กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนผู้นำคู่คุณธรรม
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 การประเมินกลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจกลยุทธ์ภาวะผู้นำ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารการศึกษานั้น มีที่มาจากคุณลักษณะที่พึงประสงค์กับกลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา อันได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ 2) ด้านความชำนาญ 3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และ 4) ด้านคุณธรรม โดยการบูรณาการร่วมกันกับหลักภาวะผู้นำกับของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์พลิกโฉมผู้นำวิสัยทัศน์ร่วม 2) กลยุทธ์พัฒนาผู้นำสู่ความชำนาญด้วยนวัตกรรม 3) กลยุทธ์กระชับมนุษย์สัมพันธ์ของผู้นำอย่างยั่งยืน และ 4) กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนผู้นำคู่คุณธรรม
สรุปโดยย่อ ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาจากค่าดัชนี PNI ได้ดังนี้ ด้านคุณธรรม ด้านความชำนาญ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และ 4) ด้านวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์พลิกโฉมผู้นำวิสัยทัศน์ร่วม กลยุทธ์พัฒนาผู้นำสู่ความชำนาญด้วยนวัตกรรม กลยุทธ์กระชับมนุษย์สัมพันธ์ของผู้นำอย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ปรับเปลี่ยนผู้นำคู่คุณธรรม การประเมินกลยุทธ์ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง
Article Details
References
นิติมา เทียนทอง. (2543). ภาวะผู้นำของผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระมหาลำพึง ธีรปญญโญ (เพ็ญภู่). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิทูร ธมฺมโชโต (แสงอินทร์). (2562). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). หลักธรรมมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชัยมงคลพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อภิษฎาข์ ศรีเครือดง. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามแนวพุทธของผู้บริหารสตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.