การเลือกตั้งท้องถิ่นกับหลักธรรมอิทธิบาท 4

Main Article Content

วีรชัยยุทธ กลชัย

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้ แสดงให้เห็นว่าการกระจายอำนาจจะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผ่านกิจกรรมการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่พุทธศักราช 2540 ถึงฉบับ พุทธศักราช 2560
           ผลการศึกษา การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ประชาชนออกมาแสดงทางเลือกในการปกครองท้องถิ่น ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นการที่ประชาชนใช้สิทธิของตนลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนเพื่อให้ตัวแทนที่ตนเลือกนั้นได้มาทำหน้าที่แทนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละพื้นที่ของประเทศ ให้เป็นไปตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้กำหนดไว้ว่า เจตจำนงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจรัฐของผู้ปกครอง เจตจำนงดังกล่าว ต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งอันสุจริตและเป็นธรรม ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามวาระการดำรงของตัวแทนท้องถิ่นด้วยการลงคะแนนเสียงอย่างทั่วถึง โดยถือหลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง การเลือกตั้งที่จะประสบผลสำเร็จนั้นต้องอาศัยหลักธรรมอิทธิบาทสี่ ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิงสา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ พระพุทธเจ้าเพื่อจะใช้หลักการและแนวคิดให้ประสบผลสำเร็จตามหลักอิทธิบาท ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เพื่อจะให้เป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นแนวทางให้ประสบผลสำเร็จ
           องค์ความรู้ พฤติกรรมการเลือกตั้ง ได้แก่ ลักษณะนิสัย ทัศนะคติ ความเชื่อและ ค่านิยม ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการเลือกตั้ง ได้รับอิทธิพลจากหลักอิทธิบาทสี่ ได้แก่ ฉันทะ คือ ความเต็มใจที่จะไปเลือกตั้ง วิริยะ คือ ความกล้าหาญที่จะเลือกผู้สมัครโดยไม่เกรงกลัวกลุ่มอิทธิพล จิตตะ คือ ความคิดจดจ่อใส่ใจกับเรื่องประชาธิปไตย และวิมังสา คือ ความคิดไตร่ตรองเลือกผู้สมัครที่ตนเองต้องการเพื่อให้การเลือกตั้งนั้นเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
           สรุปโดยย่อ หลักธรรมในเรื่องหลักอิทธิบาทสี่ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา เป็นหลักธรรมมีอิทธิพลต่อปะชาชนในการเลือกตั้งให้ประสบความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
กลชัย ว. (2024). การเลือกตั้งท้องถิ่นกับหลักธรรมอิทธิบาท 4. Journal of Organizational Management Excellence, 1(4), 1–12. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/569
บท
Articles

References

ณรงค์ สินน์สวัสดิ์. (2527). จิตวิทยาทางการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.

ธีรภัทร์ เสรีรังวรรค์. (2548). โครงการวิจัยเรื่อง การประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสรภาพรัฐธรรมนูญ: คณะกรรมการเลือกตั้ง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2534). การเลือกตั้งกับการพัฒนาทางการเมือง. เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหากับการพัฒนาทางการเมืองไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2549). พจนานุกรมธรรมของท่านปัญญานันทะ. กรุงเทพมหานคร:ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2545). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

วัชรา ไชยสาร. (2544). ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทยยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

วุฒิสาร ตันไชย. (2560). การสังเคราะห์ข้อเสนอการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น : การปกครองท้องถิ่นทที่เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). คู่มือการเลือกตั้งสําหรับประชาชน. โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง ปทุมธานี.

สุขุม นวลสกุล (2534). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2527). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของคนไทย. หนังสือชุด จุฬาบริหารชุมชน ลำดับที่ 6. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2559). ตําราการปกครองท้องถิ่นไทย. สมุทรปราการ : พีเอ็นเตอร์ไพรส์ ซัพพลาย.