การศึกษาเฉพาะกรณี : พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ภัทรภา พัฒนาดอน

บทคัดย่อ

           รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 ได้กำหนดบทบาทของประชาชนเกี่ยวกับการเมืองซึ่งสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนที่ว่า มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธการจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ       1) ศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
           รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเสริมผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ
           ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ระดับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 รองลงมา ได้แก่  ด้านพฤติกรรมทางการเมือง  ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง  ด้านการให้ความรู้ทางการเมืองมี และ ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 3.92 และ 3.88 ตามลำดับ
           ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ประชาชนอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมทางการเมืองแตกต่างกัน
          ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้นำท้องถิ่นควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ส่งเสริมให้ประชาชนไปใช้สิทธิของเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตนในการปกครองในแต่ละระดับของประเทศ ส่งเสริมให้ประชาชนมีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
           ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะโดยการนำมาใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกระดับ
           สรุปโดยย่อ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีพฤติกรรมทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้นำท้องถิ่นควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง

Article Details

How to Cite
พัฒนาดอน ภ. (2024). การศึกษาเฉพาะกรณี : พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Organizational Management Excellence, 1(3), 14–26. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/568
บท
Articles

References

กรุณา มธุลาภรังสรรค์. (2564). ปัจจัยและเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคมไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 12 (1), 120-130.

จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2543). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ธีรวัตพล เลารุจิราลัย. (2554). พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิภา อิศรานันทศิริ. (2557). บทบาทของสื่อกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น,

ประเดิม แพทย์รังษี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษากรณีเทศบาลตําบลท่าหลวง อําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ประหยัด หงส์ทองคำ. (2546). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. วิทยาเขตเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้า และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 12 (2), 354-367.

รัฐนันท์ เหมรัตน์. (2553). พฤติกรรมทางการเมืองของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชัย ตันศิริ. (2547). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). ข้อมูลสถิติการใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. เมษายน ปี พ.ศ. 2564.

สิทธิพันธ์ พุทธหน. (2547). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุรพล พรหมกุล. (2554). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อรสา รัตนสินชัยบุญ. (2544). การวิเคราะห์เอกลักษณ์ของเขตเลือกตั้งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้ง: กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.