การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ของสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

ณัฐรมนท์ เวียงมนทรา

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้ แสดงให้เห็นว่าการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมผ่านการถายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสบสานทางวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการ จัดสภาพแวดล้อม สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และให้โอกาสแก่ผู้ที่มีสภาพร่างกาย สังคม อารณ์ สติปัญญา และความรู้ที่ผิดปกติจากคนทั่วไป
           ผลการศึกษา พบว่า การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ทั้งทางด้านการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับการบริหารงานวิชาการ โดยบทบาทหน้าที่ของสำนักงานการศึกษาพิเศษ การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวัดผลและประเมินผลสถานศึกษา และด้านการประกันคณภาพการศึกษา มีการนำเอาหลักธรรมะเรื่อง บุญกิริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทานมัย ศีลมัย และภาวนามัย มาปรับใช้เข้ากับหลักการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ก็ส่งผลให้เกิด ครูผู้สอนหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมาย และผู้ปกครองนักเรียนเต็มใจที่ให้ความร่วมมือกับสถานการศึกษาพิเศษที่อยู่ภายใต้หลัก หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทานมัย ศีลมัย และภาวนามัย ส่งผลต่อผู้เรียนของสถานการศึกษาพิเศษ
           องค์ความรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาพิเศษ มีหน้าบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการประกันคณภาพการศึกษา ประยุกต์เข้ากับหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทานมัย ศีลมัย และภาวนามัย ส่งผลดีต่อ ครูผู้สอนหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมาย และผู้ปกครองนักเรียนเต็มใจที่ให้ความร่วมมือกับสถานการศึกษา
           สรุปโดยย่อ หลักการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ทั้ง 6 ด้าน ของสำนักงานการบริหารการศึกษาพิเศษ สามารถนำมาปรับใช้ในสถานศึกษาร่วมกับหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาพิเศษให้แก่ผู้มีความพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนคนปกติทั่วไป

Article Details

How to Cite
เวียงมนทรา ณ. (2024). การใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ของสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ. Journal of Organizational Management Excellence, 1(3), 1–13. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/567
บท
Articles

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรส ซิสเท็ม.

กระทรวงศึกษาธิการ (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัตตานี.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: ตรีรณสาร

ประภาศิริ คูนาคำ. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2550). การบริหารงานด้านวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2550). ธรรมนูญชีวิต ฉบับชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน บันลือธรรม

สำนักงานการบริหารการศึกษาพิเศษ. (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพเด็กพิการสำหรับผู้ปกครองที่มารับบริการภายในศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2556). แนวทางการบริหารจัดการในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุทิน ลีปิยะชาติ. (2545). การบริหารบ้านเมืองทีดี. นิตยสารท้องถิ่น. 2 (11), 30.

อนันตชัย พงศ์สุวรรณ. (2557). การบริหารการศึกษาในคลื่นความเปลี่ยนแปลง. บุรีรัมย์: วินัย.

อำภา บุญช่วย. (2548). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2552). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย