เทคนิคการออกแบบงาน การประสานงาน การสื่อสารการทำงาน ในกิจกรรมของโครงการ

Main Article Content

พิไลลักษณ์ สมทรง

บทคัดย่อ

          การบริหารองค์กรสมัยใหม่ต้องอาศัยแนวคิดและรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อจัดการกับกิจกรรมที่มีความซับซ้อน การบริหารองค์การในรูปแบบโครงการ จะช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรต่างๆ และกิจกรรมในโครงการต้องสามารถที่จะบริหารจัดการได้ เทคนิคการออกแบบงานจึงเป็นกระบวนการกำหนดปริมาณงานที่เหมาะสมสำหรับงานใดงานหนึ่ง การออกแบบงานจะต้องสอดคล้องกับลักษณะส่วนบุคคล หรือกลุ่มที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน คือ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ลดความยุ่งยากและความซับซ้อนในการงาน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สร้างความพึงพอใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และไม่ให้ปริมาณงานที่ทำมากหรือน้อยจนเกินไปและให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน การออกแบบงานจะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีการประสานงานที่ดี และมีการสื่อสารในองค์การที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อให้องค์การสามารถนำโครงการหรือกิจกรรมไปปฏิบัติได้อย่างบรรลุเป้าหมายสูงสุด
          องค์ความรู้ การออกแบบงาน เป็นการวิเคราะห์ระบบงานเพื่อมุ่งไปสู่การดำเนินงานกิจกรรมภายใต้โครงการขององค์การ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการวิเคราะห์งาน ในการค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ของส่วนงานโดยมุ่งไปสู่ความสำเร็จนั้น จะต้องมีตัวแปรที่สนับ 2 ตัวแปร ประกอบด้วย ตัวแปรด้านการสื่อสารภายในองค์การ คือ การสื่อสารที่เป็นทางการ และการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ กับตัวแปรด้านการประสานงาน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ลดความขัดแย้งของการทำงาน การใช้ทรัพยากรบริหารอย่างประหยัด และลดความซ้ำซ้อนของงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมโครงการให้เกิดขึ้น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลลัพธ์ ผลการดำเนินงาน และประสิทธิผล
        สรุปโดยย่อ การออกแบบงาน เป็นการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อมาจัดลำดับความสำคัญกลุ่มของปัญหา กำหนดภาระหน้าที่งานในตำแหน่งงาน การที่จะบรรลุผลสำเร็จของงานในหน่วยงานหรือองค์การ จะต้องมีการประสานงานที่ดีคือ มีความเข้าใจตรงกันในความร่วมมือปฏิบัติงานให้สอดคล้องทั้งเวลา และกิจกรรมที่จะต้องกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงเป็นกระบวนการของการบริหารจัดการ นอกจากนี้จะต้องมีการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ เครือข่ายของการติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารภายในองค์การแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการตามสายการบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ ที่ไม่ได้เป็นไปตามโครงสร้างสายการบังคับบัญชาทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์การซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งในทางบวกหรือทางลบต่อองค์การ

Article Details

How to Cite
สมทรง พ. (2025). เทคนิคการออกแบบงาน การประสานงาน การสื่อสารการทำงาน ในกิจกรรมของโครงการ. Journal of Organizational Management Excellence, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JOME/article/view/1312
บท
Articles

References

กิตติทัศ เขียวฉอ้อน. (2567). การวิเคราะห์และออกแบบงาน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จักรวาล ไมตรีสุข. (2561). เทคนิคการประสานงานในองค์การ. วารสารแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 5 (2), 263-276.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2562). การออกแบบงานและการวิเคราะห์งานเพื่อความสำเร็จและการจัดการองค์กร. วารสารปัญญาปนิธาร. 4 (2), 50-64.

ชาญศักดิ์ เกิดสุข. (2567). การบริหารโครงการให้สำเร็จสู่มืออาชีพ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (1), 285-298.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2562). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบองค์การ ในคริสต์ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2539). การออกแบบงาน. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิรัช สงวนวงวานศ์. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2553). เทคนิคการประสานงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.