เทคนิคการสร้างความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้วยวิธีแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารการจัดการนั้น ผู้บริหารองค์การต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุง แก้ไขในเรื่องการบริหารจัดการอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์การโดยมุ่งให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน บุคคลต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน กล้าที่จะเผชิญความล้มเหลว การมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความมุ่งที่จะประสบผลสำเร็จ อดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ มีทัศนคติเชิงบวก ความมีภาวะผู้นำสูง และทำงานด้วยความไม่ประมาท รู้แนวทางการบริหารงานแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นผลงาน จากความเชี่ยวชาญและความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้าน เป็นการเชื่อมสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งเข้ามาด้วยกันอย่างสมบูรณ์ การจัดแบ่งประเภทของการปฏิบัติงาน ได้แก่ การปฏิบัติตามเนื้องานหรือตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งส่งผลดีโดยตรงต่อองค์การ กับผลการปฏิบัติงานตามบริบทของงาน และช่วยส่งเสริมให้องค์การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล เป้าหมายการปฏิบัติงานเป็นผลของบุคคลที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานอาจจะอยู่ในรูปของผลงานตามวัตถุประสงค์ หรือผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมการทำงาน โดยมีตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เฉพาะเจาะจง ความสามารถด้านการสื่อสาร ความทุ่มเทให้กับการทำงาน การรักษาระเบียบวินัย การร่วมมือกัน และการเป็นหัวหน้างานที่ดี นอกจากนั้น การใช้แรงจูงใจต่อบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ได้แก่ การจูงใจด้วยค่าตอบแทน และการจูงใจด้วยงาน
องค์ความรู้ ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย ต้องประกอบด้วย 1) ความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ 2) มีเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จ 3) ความสามารถที่จะกระตุ้นและจูงใจให้พนักงานรักในองค์การ 4) การบริหารความเสี่ยง 5) การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันและหน่วยงาน 6) มีพลังไม่หยุดนิ่งและไม่ท้อถอยพร้อมสู้ต่อไป 7) เชื่อมั่นและไว้ใจตนเอง 8) มีความพยายามและความอดทน 9) มีความสามารถ กระตุ้นให้คนทำงานอย่างเต็มที่ และ 10) มีศักยภาพที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
สรุปโดยย่อ การที่บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างสำเร็จอย่างบรรลุเป้าหมาย จะต้องมีการบูรณาการสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบริหาร การร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ความมีภาวะผู้นำ ความกล้าได้กล้าเสีย มีทัศนคติต่องานในทางบวก ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
Article Details
References
กัลยา เพิ่มผล. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์.
ชวลิต ประภวานนท์. (2555). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิสุทธิ์พัฒนา.
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. (2547). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.
ทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง. (2561). คุณลักษณะของผู้ที่ประสบความสำเร็จ 10 ประการ. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.entraining.net/article/.
นวลพรรณ ชื่นประโยชน์. (2554). ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ความผูกพันในงานและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานสินค้าเกษตรส่งออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2552). ทฤษฎีองค์การ: แนวทางศึกษาเชิงบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมคิด บางโม. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์.
สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ภาคพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). คู่มือคำอธิบายและแนวทางทางการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2567). คู่มือเทคนิคและการบริหารจัดการสมัยใหม่ การบริหารราชการแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ ท้อป จำกัด.
อามีน สัสดีวงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการการส่งเสริมและพัฒนา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Beane (2003). Curriculum Planning and Development. Boston: Allyn and Bacon.
Borman, W. C., & Motowidlo, S. J. (1997). Task performance and contextual performance: The meaning for personnel selection research. Human Performance, 10 (2), 99-109.
Campbell, J. P. (1990). Modeling the performance prediction problem in industrial and organizational psychology. In M. D. Dunnette & L. M. Hough (Eds.), Handbook of industrial and organizational psychology (pp. 687-732). Palo Alto, CA, US: Consulting Psychologists Press.
Goodman, S. A., & Svyantek, D. J. (1999). Person-organization fit and contextual performance: Do shared values matter. Journal of Vocational Behavior, 55, 254-275.