เทคนิค : การวัด วิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินงานขององค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับปรุงผลการดำเนินงาน เป็นการศึกษาให้เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาของงานที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน การสูญเสียเวลาและทรัพยากรที่มากเกินไปสำหรับงานบางอย่างที่มีข้อผิดพลาด แล้วทำการศึกษาวิเคราะห์หากระบวนการที่ถูกต้องและเหมาะสมเข้ามาช่วยในการปรับปรุงผลการดำเนินงานขององค์กร
ข้อค้นพบ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินงานขององค์กร ทำให้เข้าใจถึงกระบวนการและผลการดำเนินการของกระบวนการได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความสามารถพิเศษขององค์กร การสร้างความร่วมมืออย่างเป็นทางการ และการตัดสินใจว่าจ้างให้องค์กรภายนอกดำเนินการแทน ดังนั้นการเลือกใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและสารสนเทศให้ได้ประสิทธิผลองค์การจะต้องมีการทบทวนผลการดำเนินงาน และขีดความสามารถขององค์กร โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการทบทวน และประเมินผลสำเร็จขององค์กร รวมถึงผลการดำเนินการในเชิงการแข่งขัน และความก้าวหน้าเทียบกับวัตถุประสงค์ แผนกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังนำมาใช้ประเมินความสามารถขององค์กรในการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความต้องการขององค์กร และความท้าทายต่อสภาพแวดล้อมที่องค์กรดำเนินการอยู่ การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ประกอบด้วย การประเมินแนวโน้มของผลการดำเนินงาน การคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นทั้งในระดับองค์กร อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี รวมถึงการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นกับคู่เปรียบเทียบ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เหตุและผล และการหาค่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อนำมาใช้สนับสนุนในการทบทวนผลการดำเนินงาน รวมถึงช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของการใช้ทรัพยากร ส่วนเทคนิคการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ประกอบด้วย เทคนิคการปรับปรุงผลการดำเนินงาน เทคนิคการใช้คำถาม เทคนิคการเปรียบเทียบ และเทคนิคการเลียนแบบ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้บริหารที่ดี การตระหนักในเรื่องคุณภาพ และการมีระบบสารสนเทศ
องค์ความรู้ การวัดผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมขององค์กร ต้องปรับให้สอดคล้องกับข้อมูลสารสนเทศ สำหรับติดตามประเมินผลการดำเนินงานโดยรวมขององค์กร ผู้นำองค์กรต้องมีข้อมูลสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ ประกอบสถานการณ์ที่จำเป็นสำหรับเป็นตัดสินใจ ระบบวัดผลการดำเนินการของสถานประกอบการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ผู้นำองค์กรมีหน้าที่ทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของสถานประกอบการ และใช้ตัววัดผลการดำเนินการที่สำคัญขององค์กร การใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเพื่อทบทวนแหล่งข้อมูลเหล่านั้น และทำการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการทบทวนและทำให้มีความมั่นใจว่าผลสรุปสำหรับ การประเมินความสำเร็จขององค์กร ผลการดำเนินการในเชิงแข่งขัน ความมั่นคงทางการเงิน และความก้าวหน้าของการบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร
สรุปโดยย่อ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินงานขององค์กร ทำให้เข้าใจถึงกระบวนการและผลการดำเนินการของกระบวนการได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความสามารถพิเศษขององค์กร การสร้างความร่วมมืออย่างเป็นทางการ และการตัดสินใจว่าจ้างให้องค์กรภายนอกดำเนินงานแทน เทคนิคการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ประกอบด้วย เทคนิคการปรับปรุงผลการดำเนินงาน เทคนิคการใช้คำถาม เทคนิคการเปรียบเทียบ และเทคนิคการเลียนแบบ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้บริหารที่ดี การตระหนักในเรื่องคุณภาพ และการมีระบบสารสนเทศ
Article Details
References
จิตรา รักษา. (2565). การปรับปรุงและลดเวลากระบวนการทำงาน กรณีศึกษา: เฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2560). องค์กรคุณภาพ แนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์. 43, 73-91.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2558). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบในคริสต์วรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประเวศ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์การวางแผนและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
พสุ เตชะรินทร์. (1999). การวัดผลการดำเนินงานขององค์กร (Measurement of Corporate Performance. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2567. แหล่งที่มา: https://pasuonline.com/ 2018/07/23/87/.
วันชัย มีชาติ. (2549). การบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (25591). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่.
วิเชียร อุดมวิทย. (2559.) ทฤษฎีองค์การฉบับแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2553). TQA Criteria for Performance Excellence 2553-2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผลกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.