กรรมกับการให้ผลของกรรมในวิตถารสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมและการให้ผลของกรรมในวิตถารสูตร ผลการศึกษาพบว่า กรรมคือการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ความสำคัญของกรรมมี 4 ชนิด ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้จำแนกกรรมไว้ในวิตถารสูตรซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์กับการให้ผลของกรรม คือ 1) กรรมดำ เป็นกรรมที่ไม่ดี เป็นความประพฤติชั่ว ผิดศีล ประกอบด้วยโลภะโทสะโมหะ ผู้ทำกรรมดำย่อมได้รับผลที่ไม่ดี 2) กรรมขาว เป็นกรรมดี คือประพฤติดี เช่น การรักษาศีล ไม่เบียดเบียน ผู้ทำกรรมขาวเป็นไปเพื่อความสุข เมื่อตายย่อมไปสู่สุคติ 3) กรรมทั้งดำทั้งขาว คือผู้ปฏิบัติทั้งดี และไม่ดีปะปนกัน 4) กรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นกรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นกรรมที่เป็นอริยะ เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ผู้ศึกษามีความต้องการพ้นไปจากความทุกข์ ควรละเว้นกรรมดำ ทำกรรมขาว และละกรรมที่เกิดจากโลภะโทสะโมหะซึ่งเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติรักษาศีล 5 นำไปสู่การปฏิบัติตนที่เรียกว่าเป็นกรรมที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์เพื่อความสิ้นกรรมโดยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชัยวัฒน์ สุรวิชัย. (2564). หัวใจของการทำบุญเพื่อให้ประโยชน์สูงสุด. แหล่งที่มา. https://siamrath.co.th/n/23438 สืบค้นเมื่อ 6 ส.ค. 2564
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). กรรม นรก สวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). มโนรถปูรณี ภาค 2 อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). ปฏิสัมภิทามรรค ภาค 2 อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). สุมังคลวิลาสินีมหาวรรคอรรถกถา อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 48. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.