กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยเกษตรวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยเกษตรวิถีพุทธ มีหลักการสำคัญที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดทักษะและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงโดยครูมีบทบาทสำคัญในการสาธิตและฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ และมีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1) ด้านจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นอิสระ มีจิตสำนึกที่ดี และรู้จักพึ่งพาตนเอง 2) ด้านสังคม ส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือกันในชุมชน 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอนให้รู้จักใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า 4) ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานเกษตร และ 5) ด้านเศรษฐกิจ เน้นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และความพอเพียงในการดำรงชีวิต สรุปโดยรวมได้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยเกษตรวิถีพุทธ ไม่เพียงแต่สอนทักษะทางการเกษตร แต่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชนะ วันหนุน. (2564). แนวความคิดในการจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตร. แหล่งที่มา http://158.108.70.5/emagazine/ emagazine1/agriculture.html สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2564.
ทิศนา แขมมณี. (2551). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปภาวรา ประเสริฐ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. แหล่งที่มา https://www.sesao30. go.th/ สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2564.
พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์อโนมปญฺโญ/กองสินธุ์). (2559). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารปัญญาปณิธาน. 1(2). 34-47.
พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ/กองสินธุ์), พระมหาบาง เขมานนฺโท, พระครูสุธีคัมภีรญาณ และ ประยูร แสงใส. (2557). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารช่อพะยอม. 25(1). 53-64.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมยศ ต่ายแก้ว. (2551). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลัการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Hilgard E.R. & G.H Brower. (1974). Theories of Learning. 4 ed. New York: Applotoncentury.