ความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 186 คน ด้วยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม หาค่าความถี่และค่าร้อยละ 2) ข้อมูลระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นการจัดการศึกษาโดยใช้โครงการเป็นฐานของสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดอ่างทองใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI)
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าความต้องการจำเป็นทุกด้าน PNIModified อยู่ระหว่าง 0.468-0.694 ในภาพรวม PNIModified = 0.580 เมื่อพิจารณารายด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ กระบวนการบริหารและการจัดการ (PNIModified = 0.694) รองลงมา คือ ผู้เรียน (PNIModified = 0.579) และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (PNIModified = 0.468) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564 - 2568. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (2565). แผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569). พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hoy, W.K. & Miskel. (2001). C.G. Educatioal Administration: Theory, Research and Practice. 6th ed. Singapore: McGraw-Hill.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale in Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. New York: Wiley & Son.
Speck, M. (1999). The Principalship: Building a Learning Community. New Jersey: Prentice-Hall.