การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงเพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในยุคดิจิทัล
3) เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบ ประกอบด้วยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวง และการใช้แบบสอบถามนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีดีเด่น 306 รูป ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองนำรูปแบบ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอนที่ 3 สร้างเครือข่าย ประกอบด้วยการปรับปรุงและเผยแผ่การจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์ไปยังเครือข่าย 5 สำนักเรียน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงเพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ครูสอน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล และมีผลความคิดเห็นต่อรูปแบบ โดยภาพรวมมีผลความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในยุคดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และกระบวนการพัฒนา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ครูสอน มีภูมิรู้ และภูมิธรรม สร้างและบูรณาการความรู้ มีหลักกัลยาณมิตร 7 และมีทักษะการสอน 2) หลักสูตรมีเนื้อหาสาระชัดเจน เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ศึกษา อาศัยความจำและความเข้าใจ 3) การจัดการเรียนการสอน มีทักษะการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ ประสานร่วมมุขปาฐะ (ท่องจำ) มีเทคนิคที่เหมาะสม จัดการเรียนรู้ผ่านค้นคว้าข้อมูล 4) สื่อการเรียนการสอน สื่อน่าสนใจ ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ สื่อการสอนที่หลากหลาย ใช้โปรแกรม zoom, google meet, feacbook 5) การวัดผลและประเมินผล วิเคราะห์ผลตามเกณฑ์ มีเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา เครื่องมือการวัดผลมีความตรง ความเชื่อมั่น และการนำไปใช้ และ 3) การสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงออนไลน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุ สามเณรในยุคดิจิทัล 5 สำนักเรียน คือ สำนักเรียนวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย สำนักเรียนวัดจากแดง สำนักเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมการศาสนา. (2542). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. รายงานการวิจัย. กรมการศาสนา.
กองบาลีสนามหลวง, (2553). สอบบาลีของสนามหลวงแผนกบาลี ปี 2553. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์.
กองบาลีสนามหลวง. (2557). บัญชีแสดงผลการสอบ ประโยคบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2557 รวมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค. กรุงเทพมหานคร: วัดปากน้ำ.
จิรภา อรรถพร และประกอบ กรณีกิจ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสาร OJED. 9(4). 122-136.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรชุลี อาชวอำรุงและคณะ. (2547). การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี ของวัดสุทธิวารี จังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัย. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา.
พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี. (2552). การบริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาแผน พูดพัด. (2543). ระบบการบริหารทางวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาศักรินทร์ ศศพินทุรักษ์. (2515). หลักควรจำบาลีไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
พระมหาสมหมาย ตเมโธ และคณะ, (2560). กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4(2). 56-67.
อนิรุทธ์ สติมั่น และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2555). การพัฒนาชุดบทเรียนออนไลน์ เรื่อง วิธีการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสำหรับผู้สอนในสถาบันการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 92-95.