ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 2 จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี ซึ่งได้มาจากการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 2 อำเภอพบพระ จังหวัดตาก การวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลอง วันละ 30 นาที ตลอด 4 วันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ รวม 32 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม จำนวน 32 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถทางทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้ค่าจำนวนและตัวเลข แบบทดสอบรู้ค่าจำนวนตัวเลข (1-20) จำนวน 4 ข้อ ด้านการเรียงลำดับ จำนวน 4 ข้อ ด้านการเปรียบเทียบ จำนวน 4 ข้อ ด้านการจัดหมวดหมู่ จำนวน 4 ข้อ รวมทั้งหมด 16 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพิชญ์ ศรีสวัสดิ์. (2555). การพัฒนากิจกรรมเกมการศึกษาด้านการเรียงลำดับเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
กมลรัตน์ กมลสุทธิ. (2555). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
กานต์ อัมพานนท์. (2558). การสร้างเสริมศักยภาพและสมรรถนะของครูในการสอนคิดวิเคราะห์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ขนิษฐา สุยะเพี้ยง. (2560). ผลของการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
ทิพวรรณ สุขผล. (2553). การพัฒนาชุดฝึกพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
นุจิรา เหล็กกล้า. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร).
พรพิมล ช่วยชูวงศ์. (2555). การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเชิงเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา).
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์.
มณีวัลย์ จันระวังยศ. (2551). การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเวียงเชียงรุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย).
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0005.PDF.
สุมารีย์ ไชยประสพ. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
เสาวลักษณ์ รัตน์วิชช์. (2551). หลักการและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
Jensen, J. R. (2009). Remote sensing of the environment: An earth resource perspective 2/e. Bangalore: Pearson Education India.
Piaget. (1969). The Psychology of the Child. New York: Basic Books.