ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฤทัยวรรณ สุวพนาวิวัฒน์
อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จำนวน 62 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลองโดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและแบบเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สุวพนาวิวัฒน์ ฤ., & อัศวโสวรรณ อ. (2025). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Applied Education, 3(1), 25–38. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1375
บท
บทความวิจัย

References

กชกร แฝงเมืองคุก. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กามีละห์ มะยุ. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้อัลฟิกฮฺ เรื่อง หัยฎและอิสติฮาเฎาะฮฺ สำหรับนักเรียน ชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

ณัฐกานต์ แสงทอง. (2564). การประเมินปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหัวข้อภัยพิบัติทางธรรมชาติ. วารสารการศึกษาสังคมศึกษา, 12(3), 85-92.

ดลธรัตน์ จูฑะมณีโรจน์. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนการสอนโดยใช้การตัดสินใจเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการประเมินเหตุผลสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากการณ์เป็นฐาน เรื่อง จลนศาสตร์เคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ทิศนา แขมมณี. (2554). การพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนวัต สุขจิตร. (2566). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วย Glide App เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขาณุวิทยา. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

พิชาภา ด้วงสงค์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารรอบตัว โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

พิพัฒน์พงษ์ ดำมาก. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ศศิวิมล สุนันตะ. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศิริพร อักษรแก้ว. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ในวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: การศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุชานันท์ วรวัฒนานนท์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน: แนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Adipat, S. (2024). Transcending traditional paradigms: the multifaceted realm of phenomenon-based learning. Retrieved form www.frontiersin.org/journals/education/articles/10.3389/feduc.2024.1346403/full.

Dewey, J. (1938). Experience and Education. New York: Kappa Delta Pi.

Ennis, R. H. (1985). A logical basis for measuring critical thinking skills. Educational leadership, 43(2), 44-48.

Facione, P. A. (2013). Critical thinking: What it is and why it counts. Millbrae, CA: Insight Assessment.

Krokfors, L., et al. (2014). Integrated learning through phenomena: A Finnish educational model. Journal of Learning Studies, 3(4), 310–317.

Lehtonen, M., Sébastien, L., & Bauler, T. (2016). The multiple roles of sustainability indicators in informational governance: between intended use and unanticipated influence. Current Opinion in Environmental Sustainability, 18, 1-9.

O'Reilly, C., Devitt, A., & Hayes, N. (2022). Critical thinking in the preschool classroom-A systematic literature review. Thinking skills and creativity, 46, 101110.

Sani, A. (2020). Phenomenon based-learning for Nigerian higher institutions: A new curriculum approach to meet the challenges of the 21st century. ATBU Journal of Science, Technology and Education, 8(1), 1-10.

Symeonidis, V., & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-based teaching and learning through the pedagogical lenses of phenomenology: The recent curriculum reform in Finland. Forum Oświatowe, 28(2), 31–47.

Tongsoong, S., & Jermtaisong, R. (2021). Learning management through the combination of STEAM Education and phenomenon-based learning to develop creative thinking of secondary 6 (grade 12) students. In 6th UPI International Conference on TVET 2020 (TVET 2020) (pp. 341-345). Paris: Atlantis Press.

Zulyusri, Z., Elfira, I., Lufri, L., & Santosa, T. A. (2023). Literature study: Utilization of the PjBL model in science education to improve creativity and critical thinking skills. Jurnal Penelitian Pendidikan IPA, 9(1), 133-143.