ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พลอยไพลิน วรรณจิตร์
ภัทรพงษ์ โคกทอง
ภาณุพงศ์ พรมมินทร์
ภูริพันธุ์ ลมูลพันธุ์
โยธิน ทศโยธิน
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบูรณวิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสุภาพพิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนนราทิพย์พิทยา จำนวน 3 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 67 คน และวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบ่งชั้นตามโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.720) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศรีวงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วันชนก อาจปรุ. (2564). แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคกลาง. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วิยะดา เจียวรัมย์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์).

วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). การศึกษาผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568 และนโยบายเร่งด่วน (Quick win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อินทิรา อำมโภช (2565). การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับแนวปฏิบัติวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).