การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู และ (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 273 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการแบ่งได้กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t- test) และทดสอบค่าเอฟ (F – test) หากพบความแตกต่างเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความเห็นโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐธยาน์ โพธิ์ชาธาร. (2553). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).
ดุษณี ศรีประเสริฐ. (2554). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุณยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล, ไมตรี จันทรา และ กรีฑา วีระพงศ์. (2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(53), 187-196.
ประกอบ คุปรัตน์. (2552). ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อและความหมาย. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก http://pracob.blogspot.com/2009/11/blog-post_1389.html.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2560). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 51-70.
เสาวภา พรเสนาะ, อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์ และ สายตา ประเสริฐภักดิ์. (2556). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 7(2), 36-42.
Drake, T.L, & Roe, W.H. (1986). The Principal Ship. (3rd ed.). New York: Macmilan.
Krejcie, R.V. & Morgan. D.W. (1970). Determining Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.