ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จําแนกตามเพศ ประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จําแนกตามเพศ ประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความเห็นโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความเห็นโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วิสิฎฺฐปญฺโญ พ. (2023). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนอำเภอหนองวัวซอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. Journal of Applied Education, 1(4), 1–12. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/742
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ปิงวงค์. (2556). ภาวะผู้การเปลี่ยนแปลงของผู้บูริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชารี มณีศรี. (2548). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น.

นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายการศึกษาเขาชะเมา อำเภอเขาชะเมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประภา อัครพงศ์พันธุ์. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

มนตรี บุญธรรม. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

รจนา มากเลาะเลย์. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างแรงบันดาลใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจกรบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อภิชัย ธิณทัพ. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสภาพและแบบแลกเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational leadership: 1992 and beyond. Journal of European industrial training, 14(5), 21-27.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Leithwood, K., & Jantzi, D. (1990). Transformational leadership: How principals can help reform school cultures. School effectiveness and school improvement, 1(4), 249-280.