พิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวของอาเซียน

Main Article Content

อุตมะ ปภาภูธนะนันต์
ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์
ธนกร นิ่มอนงค์
อธิพงษ์ คิดดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวของอาเซียน และพญาครุฑตามความเชื่อต้นแบบความดีเชิงประจักษ์ โดยพิพิธภัณฑ์ครุฑเป็นแหล่งรวบรวมมรดกศิลปวัฒนธรรมและเรื่องราวคุณงามความดี ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์และเสียสละอันยิ่งใหญ่ การอนุรักษ์สืบสานความดี เป็นแหล่งเพื่อเรียนรู้ ปลูกฝังการกระทำความดี ผ่านการจัดแสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของครุฑในหลายมิติและการจัดแสดงครุฑพระราชทาน ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ครุฑ หรือ พญาครุฑ มีเรื่องเล่าขานหลายตำนานส่งผ่านต่อกันมาด้วยอิทธิพลของศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า “ครุฑ” เป็นสัตว์กึ่งโอปปาติกะ และเป็นเทพพระพาหนะทรงของพระนารายณ์ มหาเทพผู้สร้างทุกสรรพสิ่งบนโลก พุทธศาสนาเชื่อว่า “ครุฑ” คือเทพครึ่งนก มีฤทธิ์มาก ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ มีถิ่นที่อยู่อาศัยในป่าหิมพานต์บริเวณวิมานฉิมพลีเชิงเขาพระสุเมรุ ซึ่งบนยอดเขาเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่สถิตของพระอินทร์ และบางตำนานกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์พญาครุฑ ว่าเป็นเมตตามหานิยม เป็นสิทธิอำนาจอันเฉียบขาด เป็นสื่อนำความเจริญรุ่งเรือง ปกป้องคุ้มครอง สามารถลบล้างอาถรรพ์และคุณไสยทั้งปวง ภูติผีปีศาจเกรงกลัวไม่กล้าเข้าใกล้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกฉัตร เทวารักษดา. (2565). พญาครุฑ ตำนานความเชื่อความศรัทธาและทิศทางธุรกิจ. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ดาราวรรณ เกตวัลห์. (2563). ครุฑ : คุณลักษณะแห่งผู้นำ. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ครั้งที่ 2 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” (น. 697-706). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.

นภษร ศรีวิลาศ. (2560). เรื่องราวของตราสัญลักษณ์จากพระเจ้าแผ่นดิน ที่แสดงบรรษัทภิบาลที่ดีแบบสมัยโบราณ. สืบค้น 29 มกราคม 2567. จาก https://readthecloud.co/scoop-20/.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการพระราชทานตราตั้งห้าง. (2482). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 422. สืบค้น 27 มกราคม 2567. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/418.PDF.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง. (2549). พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19 ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1. สืบค้น 14 ธันวาคม 2566. จาก https://84000.org/tipitaka/read/?27/2387.

พิพิธภัณฑ์ครุฑ. (2554). ความเชื่อและการกำเนิดจักรวาล. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Garuda-Museum.

พิพิธภัณฑ์ครุฑ. (2567). มิวเซียมไทยแลนด์. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Garuda-Museum.

มูลนิธิทีทีบี. (2559). ไฟ-ฟ้า จุดประกายเยาวชนและชุมชน. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.ttbfoundation.org/th/garudamuseum/ebook/.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2567). ตราแผ่นดินของไทย. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของไทย.