ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

Main Article Content

ประภาภรณ์ ภูขาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ปีการศึกษา 2565 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการแบ่งได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 265 คน ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จําแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). สุดยอดภาวะผู้นํา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2555). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเทศบาลตำบลในร้อยเอ็ด. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง).

จารินี สิกุลน้อย. (2556). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

ดวงแข จํานอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

นัยนา ชนาฤทธิ์. (2556). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2551). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วิเชียร วงค์คำจันทร์. (2553). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสังฆมลฑลนครราชสีมา ตามทัศนะของครู. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size of Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill.