สำเนียงสุโขทัยพื้นถิ่นในเพลงของสรวง สันติ (พ.ศ. 2509-2525)

Main Article Content

ดิเรก ด้วงลอย
พระปลัดระพิน พุทธิสาโร
มัลลิกา ภูมะธน

บทคัดย่อ

บทความเรื่องสำเนียงสุโขทัยพื้นถิ่นในเพลงของสรวง สันติ (พ.ศ. 2509-2526) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความเป็นภาษาถิ่นสุโขทัยที่ปรากฏในเพลงของสรวง สันติ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาเขียนเป็นบทความในรูปความเรียง ผลการศึกษาพบว่า สรวง สันติ เป็นนักร้องนักแต่งเพลง ในระหว่าง พ.ศ. 2509-2526 ที่มีถิ่นกำเนิดจากสุโขทัย จึงใช้ภาษาถิ่นมาแต่งและร้องเพลง ดังปรากฏในเพลง ไม่ลืมคนสุโขทัยที่ปรากฏในเนื้อร้อง และคนสุโขทัย ปรากฏในบทสนทนา สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่นผ่านภาษา ภาษาถิ่นสุโขทัย มีเอกลักษณ์ทั้งสำเนียงและศัพท์คำเรียก โดยมีวรรณยุกต์ภาษาถิ่นสุโขทัยมีคำที่แตกต่างจาก ภาษากลางทั้งวรรณยุกต์ สระ พยัญชนะ เช่น ร เป็น ล ช เป็น ซ วรรณยุกต์มี 6 เสียง เช่น เลา เหลา เล่า เล้า เล๊า เหล่า การไล่เสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยกลาง แต่ก็ถูกกล่าวขานว่าภาษาถิ่นสุโขทัยเป็นภาษาที่ถูกอธิบายว่าเป็นภาษาของชาวสุโขทัยนับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เคียง ชำนิ. (2543). สำเนียงพูดคนสุโขทัย. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 22(1), 92-94.

จิตกวี กระจ่างเมฆ. (2560). อนุรักษ์และสืบทอดภาษาถิ่น : ภาษาลาวครั่ง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 10-26.

จุฑารัตน์ เกตุปาน. (2542). การศึกษาวิเคราะห์ร่องรอยภาษาสมัยสุโขทัยจากคำโบราณในจารึกสมัย กรุงสุโขทัยที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, อรประพิณ กิตติเวช และ จุฑามณี อ่อนสุวรรณ. (2560). ปัจจัยทางสังคมและทัศนคติของชาวกำแพงแสนต่อภาษาไทยถิ่นของตน. Veridian E-Journal, Silpakorn University มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (ฉบับภาษาไทย), 10(2), 1785-1802.

ชมพูนุท ธารีเธียร. (2556). ตัวนำส่วนเติมเต็มในภาษาไทยถิ่นอีสาน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 149-172.

ดิเรก ด้วงลอย และ พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดือนเพ็ญ รักษ์แพทย์. (2541). การศึกษาระบบเสียงภาษาสุโขทัยและเปรียบเทียบกับภาษานครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน. (2564). ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(1), 1-31.

บุญเหลือ ใจมโน. (2560). การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาไทย 4 ถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 6(1), 73-90.

พระมหาเทวประภาส มากคล้าย. (2558). แนวทางการเสริมสร้างสมานฉันท์โดยใช้กลไกอัตลักษณ์วัฒนธรรมปี่กลองมังคละ : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนภาษาถิ่นสุโขทัย ลุ่นน้ำน่านตอนบน ในจังหวัดอุตรดิตถ์. Veridian E-Journal,Silpakorn University มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (ฉบับภาษาไทย), 8(3), 249-266.

พระสิทธิศักดิ์ ธมฺมทายาโท (พรมสิทธิ์), เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์ และ ปรีชา คะเนตนอก. (2563). การศึกษาภาษาถิ่นในจังหวัดนครราชสีมาตามแนวภูมิภาษาศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 92-107.

พระหน่อแสง อคฺคเสโน, ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ และ ศุภาวีร์ เลิศผาติวงศ์. (2563). การศึกษาภาษาถิ่นบ้านหนองเนิน ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 51-70.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2557). การเปรียบเทียบคำศัพท์และเสียงในภาษาขึนและภาษาไทถิ่นภาษาอื่นๆ ที่พูดในจังหวัดน่าน. วารสารอักษรศาสตร์, 43(2), 105-171.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร.

มุจลินทร์ ลักษณะวงษ์. (2538) การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาไทถิ่นในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 30(2), 7-20.

รัชนีฉาย เฉยรอด. (2562). ระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นควนโดน บ้านควนโดนใน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 36(1), 107-127.

วัชรญาณ. (2566). วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พระไวยถูกเสน่ห์. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://citly.me/RLFjw.

วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2565). คำศัพท์ภาษาถิ่นสุโขทัย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 13(1), 75-95.

วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2565). ระบบเสียงและโครงสร้างพยางค์ในภาษาถิ่นสุโขทัย. วารสารศิลปะศาสตร์, 22(3), 446-472.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2529). วิวัฒนาการพิธีทำขวัญของคนไท (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย เดือนเพ็ญ. (2559). สำเนียงสุโขทัยเก่าแก่แค่ไหน. สืบค้น 3 มกราคม 2566. จาก https://pantip.com/topic/34911208.

สุพิชญา ไกรกล และ สุพัตรา อินทนะ. (2558). การเปรียบเทียบคำศัพท์ตามหมวดต่างๆ ของภาษาถิ่นผู้ไทในจังหวัดอำนาจเจริญ กับภาษาไทยมาตรฐาน. วารสารสารสนเทศ, 14(1), 57-68.