การสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ธนาพร เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ผลการศึกษาพบว่า การสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยการนำเอาวิธีการสอนเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิต ฉะนั้น บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 โดยครูต้องสอนที่ตอบสนองผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการสอนที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอน เป็นการพัฒนาทักษะให้เกิดกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้มากที่สุด และสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนที่เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดกําแพงเพชร. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จังหวัดกําแพงเพชร. กำแพงเพชร: สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดกําแพงเพชร.

คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สืบค้น 6 มกราคม 2566. จาก https://citly.me/YZ5kp.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นนทลีพร ธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Open Worlds.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน.......เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สืบค้น 6 มกราคม 2566. จาก http://www.nitednayok.com/data/Active%20learning.pdf.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. นนทบุรี:บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จํากัด.

สิริพร ปาณาวงษ์. (2566). Active Learningเทคนิคการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 6 มกราคม 2566. จาก https://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/10062014104828_3.pdf.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. 1991 ASHE-ERIC higher education reports. Washington DC: School of Education and Human Development, George Washington University.

Michael L. McKinney. (2008). Effects of urbanization on species richness: A review of plants and animals. New York: Springer Science Business Media.