การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย ด้วยหนังสือนิทานคำพื้นฐานภาษาไทย แบบสามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อภิชาติ ภูจอมผา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ ด้วยหนังสือนิทานคำพื้นฐานภาษาไทยสามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองขั้นต้น (pre-experimental research) ด้วยวิธีการใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One group Pretest - Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมสึกษาขอนแก่น เขต 4 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านคำพื้นฐาน 2) หนังสือนิทาน (AR) คำพื้นฐานภาษาไทย 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบการหาค่าที ผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ ด้วยหนังสือนิทานคำพื้นฐานภาษาไทยสามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.64 คิดเป็นร้อยละ 83.20 มีผลสัมฤทธิ์ทางการที่สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์ พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28.

ดุสิต ขาวเหลือง และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนบ้านสองคอนศิริคุรุราษฎร์. (2565). แผนการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2565. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4.

วรัญญา ไวบรรเทา และ อุษาพร เสวกวิ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 230–240.