การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ

Main Article Content

จุฑารัตน์ อ้อนพิสมัย
อรรถพงษ์ ผิวเหลือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การแจกลูกสะกดคำ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ และ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ รูปแบบการวิจัยทดลองขั้นต้น (pre-experimental research) ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำแท้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยเดื่อ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.50 ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จาง หญิงหญิง. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 3. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 466-478.

นารี ศรีปัญญา และ กระพัน ศรีงาน. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 86-97.

นิติญาพร ใจเที่ยง และ วิรางคนา เทศนา. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาศักยภาพกําลังคนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 1(2), 77-88.

บุญเพ็ญ สุวรรณศร. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำกับการสอน ตามคู่มือครูของกรมวิชาการ. (ครุศาสตรมหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครครีอยุธยา).

ประญัติ บุตรมาลา. (2550). ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พระมหาโยธิน ไกรษร. (2565). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคําที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 15-24.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). สัมมนาหลักสูตรภาษาไทย. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สริตา ลีปรีชา และ ชิดชไม วิสุตกุล (2565). การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กดโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 460-471.

สังวาลย์ จันทร์เทพ, ยุพิน จันทร์เรือง และ อัญชลี เท็งตระกูล. (2562). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 23-40.