การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คําควบกล้ำแท้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี

Main Article Content

จันทร์มณี นาคาม้วนหาง
อรรถพงษ์ ผิวเหลือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำแท้ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี และ (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี รูปแบบการวิจัยทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำแท้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 82.55 ซึ่งหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชลธิรา กลัดอยู่. (2521). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ณัฐวรรณ นิธิสมบัติสถิต, รังสรรค์ มณีเล็ก และ สุกลรัตน์ มิ่งสมร. (2564). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเขียนคําควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่เกาะ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(10), 207-218.

นวรัตน์ จองหนุ่ม และ กฤษฎา สังขมงคล. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคําควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบํารุง). วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 3(2), 41-48.

ประสงค์ รายณสุข. (2532). การศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการพูดภาษาไทยแก่เด็กชาวเขา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์รัชนา โนนหิน, วิชยา กลั่นหุ่น และ ศิวดล วราเอกศิริ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคําควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัว. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 4(1), 11-18.

สราณี สมไชยวงค์. (2564). ผลของการสอนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้เทคนิคโฟนิกส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 4(1), 105-115.

สุมลมาลย์ เอติรัตนะ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).