นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูในยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Era) โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ธนกฤต วิริยะจิตต์
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว
ประเวศ เวชชะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูในยุคปัญญาประดิษฐ์ของโรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และครู จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและการสนทนากลุ่ม เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูในยุคปัญญาประดิษฐ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติและการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ ซึ่งสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูในยุคปัญญาประดิษฐ์ โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง ต้องมีการประเมินสภาวการณ์โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงการ และตัวชี้วัด ซึ่งได้กำหนดไว้ 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้ครูที่มีทักษะด้าน IT เป็นแกนนำในการพัฒนาและฝึกอบรมให้กับครูท่านอื่น และ 2) พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการเรียนรู้ของครูโดยให้ครูที่มีความสามารถด้าน IT ช่วยสร้างเนื้อหา มิติที่ 2 กลยุทธ์เชิงป้องกัน ประกอบด้วย 1) จัดให้มีระบบ IT สำหรับการบริหารจัดการในการลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และ 2) สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ มิติที่ 3 กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบด้วย 1) พัฒนาระบบการติดตามผลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล 2) ส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียน 3) จัดโครงการเพิ่มแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มิติที่ 4 กลยุทธ์เชิงรับ ประกอบด้วย 1) จัดให้รูที่มีทักษะ IT พื้นฐานเป็นผู้ช่วยหลักภายในโรงเรียนสำหรับให้ความช่วยเหลือในการใช้อุปกรณ์ 2) จัดให้มีคลั่งสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบออฟไลน์

Article Details

How to Cite
วิริยะจิตต์ ธ., ตุ่นแก้ว ส., & เวชชะ ป. (2025). นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูในยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Era) โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. Journal of Applied Education, 3(3), 103–116. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1545
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/.

ขวัญชนก บุญนาค และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามระดับประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 62-77

เขมิสรา กุลมาตย์. (2567). แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต สำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์, 52(3), 1-15.

คมสันต์ กองม่วง และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2566). แนวทางพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 123-135.

จำเนียร จวงตระกูล และ นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2(2), 1 - 14

ดานุพล ไชยสุข และ ชัยยศ เดชสุระ. (2567). แนวทางพัฒนาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วารสารธรรมะเพื่อชีวิต, 30(4) 86-101.

เดลินิวส์. (2566). สพฐ.ร่วมพัฒนาการศึกษา 33 รร.พื้นที่โครงการดอยตุงฯ. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/news/2391727/.

นิชาภัทร ไม้งาม. (2564). เทคโนโลยีแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้แค่ไหน : บทเรียนจาก 4 พื้นที่จริงของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/technology-improve-reading-equity/.

ประเวศ เวชชะ. (2566). การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา. (ครั้งที่ 5). เชียงราย: ร้านปี้แอนด์น้อง.

ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2559). เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 284-289.

พวงเพ็ญ อินทรประวัติ, ณฐกร ดวงพระเกษ และ ฐิติรัตน์ คล่องดี. (2565). สมรรถนะครู 4 ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 22(1), 181-195.

พีระวัตร จันทกูล และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 225-237.

ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ฯ. (2564). โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นจาก https://www.doitung.com/about.

โรงเรียนเพชรพิทยาคม. (2565). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. สืบค้นจาก https://www.pks.ac.th/news/oit2565_0624.html.

สมบัติ นามบุร. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 121-134.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางสนับสนุนการจัดการศึกษาในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล. นนทบุรี:บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุขจิราภรณ์ ทิพย์อุตร, อธิป เกตุสิริ และ พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2567). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอํานาจเจริญ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 18(2), 63-81.

สุทธิชัย นาคะอินทร์, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติหน้าที่ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 11. วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 2122-2136.

เสาวลักษณ์ จีนเมือง, จิรศักดิ์ แซ่โค้ว และ ญาณิศา บุญจิตร์. (2567). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 207-244.

แสงสุรีย์ ทองขาว, พระมหาโยธิน มหาวีโร, พระปลัดไพโรจน์ อตุโล, สงคราม จันทร์ทาคีร และ วิชิต นาชัยสินธ. (2566). บทบาทครูไทยกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 130-144.

อริยวัฒ เฉลิมกิจ และ พรเทพ รู้แผน. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(3), 192-204.

ออสเกิดสมุ ยะแพ. (2565). การสุ่มตัวอย่าง (sampling) คืออะไร? วิธีการสุ่มตัวอย่างงานวิจัย มีกี่แบบ ประเภท. สืบค้นจาก https://www.enablesurvey.com/article-detail/5e098336-686a-4fbd-88b1-cc80636f5d80/sampling.

อินเทล. (2567). ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.thailand.intel.com/content/www/th/th/learn/ai-in-education.html.

Çitilci, T., & Akbalık, M. (2019). The importance of PESTEL analysis for environmental scanning process. In Advances in Marketing, Customer Relationship Management, and E-Services (Chapter 16). Retrieved from https://doi.org/10.4018/978-1-7998-2559-3.ch016.

Researcher Thailand. (2020). Mixed Methods Research. Retrieved from https://researcherthailand.co.th/การวิจัยแบบผสมผสาน/.

Sirivedin, P. (2024). Online Integrated Platform for Self-Development: Thai Teachers in Remote Area Case. NIDA Case Research Journal, 16(1), 1–30.