แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (Mini English Program) ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น (2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานวิชาการที่เป็นเลิศโรงเรียนหลักสูตรสองภาษาระดับปฐมวัย และ (3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่นโดยการเก็บข้อมูลโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (Mini English Program) ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 2) เหตุปัจจัยความสำเร็จต่อการบริหารจัดการงานวิชาการที่เป็นเลิศโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (Mini English Program) ระดับปฐมวัย คือ (1) เหตุปัจจัยสำคัญภายในส่วนใหญ่ส่งเสริมการจัดการศึกษาได้ดีแต่ยังมีอุปสรรคบางประการที่ต้องปรับปรุง และ (2) เหตุปัจจัยสำคัญภายนอกส่วนใหญ่ส่งเสริมการจัดการศึกษาได้ดี โดยเฉพาะการสนับสนุนจากผู้ปกครองและชุมชน แต่ยังมีอุปสรรคด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้งที่ต้องแก้ไข และ 3) แนวทางการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (Mini English Program) ระดับปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ (3) ด้านการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (5) ด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ และ (6) ด้านการนิเทศการศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ เอื้องเพ็ชร์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์).
โกวิท โกเสนตอ. (2557). ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียนตามแนวชายแดน ไทย-พม่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2(2), 24-32.
ปรียานันท์ ปานเมือง, ญาณิศา บุญจิตร์ และ จิณัฐตา สอนสังข์. (2568). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 115-128.
ภาวิณี พลเวียงคํา และ บุญช่วย ศิริเกษ. (2566). ทักษะการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเลย. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 345–359.
ยูทูเบบี้. (2555). เตรียมพร้อมให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา. สืบค้นจาก http://go2pasa.ning.com/profiles/blogs/p-styletextalign-center.
รชยา เรือนสอน, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และ สุวดี อุปปินใจ. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในโรงเรียนเทศบาล 1 (ป่าแดด). วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 1–22.
โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น. (2566). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น. เชียงราย: โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Learning). กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สุพรรณวษา โสภาพรม, สิทธิกร สุมาลี และ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2568). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ, 9(2), 395-417.
อนงค์นาฎ หน่วยแก้ว, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ และ นพรัตน์ ชัยเรือง. (2568). การบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 265-278.
อรุณี หรดาล. (2559). เด็กสองภาษา: สร้างได้ในวัยอนุบาล. Journal of Education and Innovation, 18(1), 230–240.