ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ศิริเสถียร
จรัส อติวิทยาภรณ์
ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน (2) ระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน (3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และ (4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 196 ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูง และ 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน พบว่า (1) ผู้บริหารควรมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ (2) ควรมีการปลูกฝังส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน (4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (5) มีความรับผิดชอบในการบริหารงานให้ได้ผลสำเร็จและเน้นความโปร่งใส

Article Details

How to Cite
ศิริเสถียร จ., อติวิทยาภรณ์ จ., & ตรีตรีศวร ต. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา. Journal of Applied Education, 3(2), 13–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1475
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

เกรียงไกร แสนสุข. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร).

ดวงพร แสนภูวา. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สกลนคร).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริฉัตร ช่อชิต และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 80-93.

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2564). การสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(3), 1-3.

อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (คุรุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์).

เอกรินทร์ เขียวไปล่, โสภนา สุดสมบูรณ์ และ สุทธิวรรณ สุทธิวรรณ. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(3), 135–148.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

Burns, J. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Mycoted. (2004). Deming circle. Retrieved from https://www.mycoted.com/PDCA.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.