การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด (Reflective Teaching) ในรายวิชาสังคมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกัลยาณวัตร ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด (Reflective Teaching) กำหนดเกณฑ์ผ่าน คือ นักเรียนจำนวนร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลการทดสอบการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกัลยาณวัตร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด (Reflective Teaching) จำนวน 6 แผน 2) แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 5) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ท้ายวงจร 6) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 84.44 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 22.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70/70 ขึ้นไป 2) นักเรียนจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 75.56 ของนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 23.71 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70/70 ขึ้นไป อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้เสนอว่าเทคนิคการจัดการเรียนรู้อื่น เช่น การใช้ผังมโนทัศน์หรือการอภิปรายอาจช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและเพิ่มความคล่องตัวในการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนได้ด้วย ดังนั้นการนำเสนอการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดและการผสมผสานกับเทคนิคอื่น อาจช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
กนกวรรณ ศรีนรจันทร์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชา สังคมศึกษา ส 22101 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ขวัญตา บุญวาศ, ลำเจียก กำธร และ จิณัฐตา ศุภศรี. (2559). การพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ของวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลและสาธารณสุข, 26(3), 130-43.
ชมภูนุช จันทร์แสง. (2558). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 10(4), 455-569.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และ เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2557). คู่มือแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflection). ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.
พินทอง ปินใจ, พงศ์พัชรา พรหมเผ่า และสุรางคณา ไชยรินคำ. (2562). ผลของการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิดต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(3), 200-218.
เลิศศิริ เต็มเปี่ยม. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย. Veridian E – Journal, Silpakorn University, 5(2), 289-304.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุริยสาส์น.
วิภาพรรณ พินลา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Veridian E – Journal, Silpakorn University, 9(2), 1140-1157.
ศิริลักษณ์ หวังชอบ, อุดม หอมคำ, นุชจรี บุญเกต และ ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์. (2562). ผลของการเรียนแบบสะท้อนโดยใช้แผนผังความคิดออนไลน์แบบมีโครงสร้างและแบบอิสระ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน. วารสารบัIฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(1), 183-193.
อัจฉริกา ไพศาลศรีสมสุข และ ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2559). การจัดการเรียนการสอนเปียโนโดยการสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาทักษะการบรรเลงเปียโน สำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 11(2), 262-276.
Gayathri, B., Vedavyas, R., Sharanya, P., & Karthik, K. (2021). Effectiveness of reflective learning in skill-based teaching among postgraduate anesthesia students: An outcome-based study using video annotation tool. Medical Journal Armed Forces India, 77, S202-S207.
KAUNG, P. P. (2020). A Study of teachers' reflective teaching practices on students' academic achievement in Myanmar. (Doctoral dissertation, KDI School).