การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านค้อท่อนน้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการจัดเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านค้อท่อนน้อย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านค้อท่อนน้อย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คน ซึ่งผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานจำนวน 7 แผน 2) แบบบันทึกประจำวันของครู 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 5) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาท้ายวงจร 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 3 วงจร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของครูที่ได้จากผู้ช่วยวิจัย รวมทั้งการสัมภาษณ์นักเรียน และแบบบันทึกประจำวันของครู ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด กล่าวได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเป็นการนำเรื่องราวจากสิ่งใกล้ตัวมาบูรณาการเข้ากับปัญหาต่างๆที่อยู่รอบตัวของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยความรู้เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำความรู้ไปได้นานยิ่งขึ้น อันเป็นผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มเป้าหมายสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนก จันทรา. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
จริยาพร พรมสิงห์. (2558). การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ในรายวิชาศิลปะ ศ14101 เรื่องทัศนธาตุกับงานศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
โชตรัศมิ์ จันทน์สุคนธ์. (2551). วิชาสังคมศึกษา: ศาสตร์แห่งการบูรณาการ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 6-23.
ญดาภัค กิจทวี. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พรรณพร นามโนรินทร์. (2554). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ไพเราะ สุตธรรม. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนสำนัก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ภัทรพงษ์ วงษ์วิจิตรานนท์. (2557). การศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนโดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อมัลติมิเดียรายวิชา ส 322101 พระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์. (2557). การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือของ สสวท. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ศริญญา พระยาลอ. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ชีวิตปลอดภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ศิริวรรณ หล้าคอม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สำนักข่าวอิศรา. (2559). ม.มหิดล สำรวจพบเด็ก 2-6 ปี มีปัญหาพฤติกรรม EF บกพร่องถึง 30%. สืบค้น 25 มีนาคม 2567. จาก https://www.isranews.org/2017-03-07-04-25- 21/51865-ef.html.
อุดม เพชรสังหาร. (2559). สร้างเด็กไทยยุค 4.0. สืบค้น 25 มีนาคม 2567. จาก https://www.ryt9.com/s/bmnd/2567435.
Polanco, R., Calderón, P., & Delgado, F. (2004). Effects of a problem‐based learning program on engineering students’ academic achievements in a Mexican university. Innovations in Education and Teaching International, 41(2), 145-155.
Sungur, S., Tekkaya, C., & Geban, Ö. (2006). Improving achievement through problem-based learning. Journal of biological Education, 40(4), 155-160.
Wilder, S. (2015). Impact of problem-based learning on academic achievement in high school: a systematic review. Educational Review, 67(4), 414-435.