คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

        บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารสถาบันพอดี ควรจะมีความเนื้อหาทางวิชาการหรือผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง อาทิ ด้านศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ ด้านปรัชญา ด้านจริยศาสตร์ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้านการบริหารการศึกษา ด้านสหวิทยาการ ตลอดจนบทวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสถาบันพอดี อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

          ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป รวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารสถาบันพอดี ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารสถาบันพอดี รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCatch เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25% โดยมีผลตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ 2567 เป็นตันไป

        วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบทความวิจัยและบทความวิชาการ จำนวน 3,000 บาท(สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความ จำนวน 1,500.- บาท
2. ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ จำนวน 1,500.- บาท
กรุณาชำระค่าธรรมเนียม หลังจากวารสารได้พิจารณาความถูกต้องและเหมาะสมให้กับบทความของท่านแล้วและเห็นว่าบทความของท่านสมควรนำส่งเข้าสู่ระบบเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจพิจารณาบทความของท่านต่อไป
***หมายเหตุ*** วารสารไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ทุกกรณี

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์

          การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์เว็บไซต์ ของวารสารสถาบันพอดี ได้ เป็นไฟล์ word เท่านั้นที่ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSJ/about/submissions เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : shdm.journal@gmail.com

ขั้นตอนสำหรับผู้แต่ง (Author) คลิ๊ก

คลิ๊ก เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

การเตรียมต้นฉบับบทความ

ดาวน์โหลดตัวอย่างรูปแบบและการอ้างอิง:   

          1) การตั้งค่าหน้ากระดาษ กระดาษให้ใช้กระดาษสีขาว ไม่มีลายเส้นบรรทัด ขนาดกระดาษ A4 เท่านั้น และพิมพ์หน้าเดียวเว้นที่ว่างริมขอบกระดาษ ดังนี้

          ขอบด้านบน  1 นิ้ว         ขอบด้านล่าง 1 นิ้ว

          ขอบด้านซ้าย 1.3 นิ้ว         ขอบด้านขวา 1 นิ้ว

          การย่อหน้าให้เว้นระยะไปจากแนวปกติ 5 ตัวอักษรโดยเริ่มพิมพ์ที่ตัวอักษรที่ 6 (0.5 นิ้ว) ไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ บทความยาวไม่น้อยกว่า 8 แต่ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ โดยนับรวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสารอ้างอิง

          2) ตัวอักษร และขนาดอักษร (Font) บทความต้นฉบับพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ตลอดเอกสาร โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Single Spacing) ตลอดเอกสาร ขนาด (Font size) และรูปแบบตัวอักษร (Font style) 

          3) ส่วนประกอบของการเขียนบทความ

                    3.1 บทความวิจัย ให้เรียงลำดับดังนี้

                              -ชื่อเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

                              -ชื่อผู้แต่ง หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล

                              - บทคัดย่อภาษาไทย

                              - คำสำคัญ

                              -Abstract

                              -Keywords

                              -บทนำ

                              -วัตถุประสงค์การวิจัย

                              -วิธีดำเนินการวิจัย

                              -ผลการวิจัย

                              -อภิปรายผลการวิจัย

                              -องค์ความรู้จากการวิจัย

                              -ข้อเสนอแนะ

                              -เอกสารอ้างอิง

                    3.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระดังนี้

                              -ชื่อเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

                              -ชื่อผู้แต่ง หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล

                              -บทคัดย่อภาษาไทย

                              -คำสำคัญ

                              -Abstract

                              -Keywords

                              -บทนำ

                              -เนื้อหา

                              -สรุป

                              -เอกสารอ้างอิง

                    3.3 การเขียนบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

                       3.3.1 ต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือที่วิจารณ์ ดังนี้ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้เขียน/ผู้แต่ง

                          ปีที่พิมพ์สำนักพิมพ์/โรงพิมพ์ จำนวนหน้า

                       3.3.2 การนำเสนอบทวิจารณ์หนังสือควรมีส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป

                          ในทำนองเดียวกับการนำเสนอบทความ

                       3.3.3 การนำเสนอสาระสำคัญในแต่ละบทโดยสรุปและวิจารณ์แยกแต่ละบท

                          หรือแต่ละบทความ (กรณีเป็นหนังสือที่รวบรวมบทความ)

                       3.3.4 ความเห็นโดยสรุป (Concluding remarks)

 

          กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารสถาบันพอดีหรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารสถาบันพอดี

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

          “ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารสถาบันพอดี หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”