การกำกับอารมณ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพียงอุมา ชุมศรี สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

การกำกับอารมณ์, ประสิทธิผล, การบริหาร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการกำกับอารมณ์ของบุคลากรทางการศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ของการกำกับอารมณ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.878 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำกับอารมณ์โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือด้านการประเมินความคิด รองลงมา คือด้านการปรับความสนใจ ด้านการเลือกและปรับสถานการณ์ และอันดับต่ำสุด คือ ด้านการตอบสนองด้วยความผ่อนคลาย 2) ประสิทธิผลสถานศึกษา โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการบริหารวิชาการ รองลงมาคือด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านบริหารบุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรกนก วงศ์กัลยา และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2567). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 30(1), 201-220.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ. ฉบับภาษาไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.dmh.go.th/test/whoqol/ [2 ธันวาคม 2567].

ธัชยพงศ์ ปาละหงษา, วิชาญ เหรียณวิไลรัตน์ และ ในตะวัน กำหอม. (2565). ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุกับประสิทธิผลการบริหารของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(3), 151-162.

ธัญพร หิรัญธนยรัศมี และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 434-445.

นิพิธิดา ชำนาญกุล. (2561). การเสริมสร้างการกำกับอารมณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินโดยการให้คำปรึกษา แบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยทองสุข. โรงพิมพ์ทีคอม.

เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุฑาทิพย์ มณีรัตนเลิศวานิช และ นิมิตร มั่งมีทรัพย์. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการ สื่อสารภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 99-112.

Best, J.W. and Kahn, J.V. (2006). Research in Education. 10th Edition. Cape Town : Pearson Education Inc.

Corey, G. (2008). Theory and practice of group counseling. California : Thompson Brook Cole Inc.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. London : Bloomsbury.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mayer, J.D. and Salovey, P. (1997). What Is Emotional Intelligence? Emotional Development and Emotional Intelligence: Implications for Educators. New York : Basic Books.

Roderick, A. Baron. (1997). Psychology The Essential Science. Boston : Renslaer Polytechnic Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2025

How to Cite

ชุมศรี เ., วิวัฒน์ชาญกิจ โ., & กำหอม ใ. (2025). การกำกับอารมณ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารสถาบันพอดี, 2(5), 23–33. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1614